หญ้าดีควาย
ชื่ออื่นๆ : หญ้าดีควาย, หญ้าดีแฟน(เชียงใหม่) ผักหอมโคก, หูกระต่ายโคก(เลย)
ต้นกำเนิด : ในธรรมชาติพบขึ้นแซมในทุ่งหญ้า ป่าโปร่ง หรือป่าสนที่ความสูง 300-1000 เมตร พบมากทางภาคเหนือและอิสาน
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Swertia angustifolia Ham. exD. Don.
ชื่อวงศ์ : GENTIANACEAE
ลักษณะของหญ้าดีควาย
ต้น พืชล้มลุก สูง 30-40 ซม. ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งก้านมาก ผิวลำต้นจะสากมือ
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรีแคบ ยาว 2.5-3 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ

ดอก ดอกสีขาวมีขีดสีม่วงแกมน้ำเงินจางๆ ทั่วไป ออกเป็นช่อ กลีบดอก 4 กลีบ รูปรี ที่โคนกลีบมีต่อมเล็กๆ เกสรผู้ 4 อัน ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์

ผล ผลเป็นผลแห้งเมื่อแก่จะแตก ข้างในมี 4-5 เมล็ดเล็กๆ
การขยายพันธุ์ของหญ้าดีควาย
การใช้เมล็ดด้วยอาศัยธรรมชาติ
การกระจายพันธุ์ จากอินเดีย พม่าจนถึงภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามป่าสนและทุ่งหญ้าโปร่ง ที่ระดับความสูง 300-1,000 ม.
ธาตุอาหารหลักที่หญ้าดีควายต้องการ
ชอบอากาศเย็น และแดดส่องถึงเต็มวัน
ประโยชน์ของหญ้าดีควาย
เป็นยาสมุนไพร
สรรพคุณของหญ้าดีควาย
ทั้งต้นต้นใช้เป็นยาดองบำรุงกำลัง
คุณค่าทางโภชนาการของหญ้าดีควาย
การแปรรูปหญ้าดีควาย
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.qsbg.org, www.rspg.cmru.ac.th
ภาพประกอบ : FB หอพรรณไม้ Forest Herbarium – BKF
หญ้าดีควาย ไม้ล้มลุก ดอกสีขาวมีขีดสีม่วง