หญ้าตะกรับ
ชื่ออื่นๆ : กกตะกรับ
ต้นกำเนิด : พบทุกภาคของไทย
ชื่อสามัญ : หญ้าตะกรับ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyperus procerus Rottb.
ชื่อวงศ์ : CYPERACEAE
ลักษณะของหญ้าตะกรับ
เป็นพืชล้มลุกอายุหลายฤดู ชอบขึ้นในนาข้าว ที่น้ำท่วมขัง ริมตลิ่ง คันคูน้ำทั่วไปจัดเป็น ที่มีขนาดใหญ่สูงประมาณ 50-150 ซม. มีไหลอยู่ใต้ดิน โคนต้นสีน้ำตาลเข้ม ลำตันใหญ่อวบ ใบยาวเรียวปลายแหลม ใบกว้างประมาณ 1 ซม. ช่อดอกมีสีน้ำตาล ก้านช่อดอกยาวและมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม มีใบประดับรองรับช่อดอกจำนวน 2-4 ใบ

การขยายพันธุ์ของหญ้าตะกรับ
ใช้เมล็ด ชอบขึ้นในดินชื้น พบทั่วไปบริเวณท้องนาและที่ที่มีน้ำท่วมขัง
ธาตุอาหารหลักที่หญ้าตะกรับต้องการ
ประโยชน์ของหญ้าตะกรับ
ลำต้น ใช้ทอเสื่อ ทำเครื่องจักสาน
สรรพคุณทางยาของหญ้าตะกรับ
ตำรายาพื้นบ้านของไทยระบุว่า ไหล เหง้า และ ลำต้น ของ “หญ้าตะกรับ” มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เอาแบบสดหรือแบบแห้ง กะจำนวนพอประมาณหรือ 1 ขยุ้มมือผู้ใหญ่ ต้มกับน้ำท่วมยาจนเดือด รับประทานขณะอุ่นครั้งละ 1 แก้ว วันละ 2 เวลา ก่อนอาหารเช้าเย็นช่วย เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ขับประจำเดือน แก้ปวดเมื่อยตามร่างกายดี
คุณค่าทางโภชนาการของหญ้าตะกรับ
การแปรรูปของหญ้าตะกรับ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10572&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com