หญ้าไข่เห็บเล็ก หรือ หญ้าดอกเห็บ
ชื่ออื่นๆ : หญ้าไข่เห็บเล็ก (นราธิวาส) ; หญ้าหางกระรอก (ชาญชัย)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : หญ้าไข่เห็บเล็ก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eragrostis tenella (L.) P. Beauv.ex Roem et.Schult
ชื่อวงศ์ : GRAMINEAE
ลักษณะของหญ้าไข่เห็บเล็ก หรือ หญ้าดอกเห็บ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร เป็นหญ้าฤดูเดียว (annual) ทรงต้นเป็นกอขนาดเล็กค่อนข้างแผ่คลุมพื้นที่ ความสูงของต้น 34.16 – 52.38 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 0.8 – 1.38 มิลลิเมตร ลำต้นสีเขียวอมม่วงขนาดเล็กไม่มีขน ข้อสีม่วงเข้มมีขนสั้นๆรอบๆข้อ ใบเป็นแบบรูปใบหอก (lanceolate) โคนใบตัดแผ่นใบเรียวยาวไปที่ปลายใบแหลม ใบยาว 3.68 – 8.12 เซนติเมตร กว้าง 0.44 – 0.68 เซนติเมตร ผิวใบค่อนข้างนุ่มลื่นเล็กน้อย สีใบเขียวมีม่วงปน หน้าใบหลังใบไม่มีขน ขอบใบมีรอยหยักฟันเลื่อย (serrate) ลิ้นใบ (ligue) เป็นแผ่นขอบหยักสั้นๆ (membranous – serrate) กาบใบสีเขียวอมม่วงเข้มกว่าสีแผ่นใบ และมีขนสั้นๆขึ้นปกคลุมอยู่เล็กน้อย รอยต่อระหว่างกาบใบและโคนใบมีขนยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ยอดอ่อนโผล่แบบม้วน เริ่มออกดอกประมาณเดือนตุลาคม ถึงพฤษภาคม ช่อดอกออกที่ปลายยอด แบบช่อแยกแขนง (panicle) ช่อดอกรวม (inflorescen) ยาว 22.58 – 33.44 เซนติเมตร ส่วน head ยาว 10.28-18.82 เซนติเมตร กลุ่มดอกย่อย (spikelet) มีขนาดยาว 1-2 มิลลิเมตร กว้าง 0.3-0.8 มิลลิเมตร กลุ่มดอกมีลักษณะแบน รี สีขาวเทามีม่วงปนเล็กน้อย และมีก้านดอก กลุ่มดอกประกอบด้วย (floret) ขนาดเล็กหลายดอกเรียงเป็นตับสองข้างของแกนช่อดอกย่อย ติดเมล็ดดีมาก เมล็ดแก่ร่วงง่ายและเกิดขึ้นเป็นต้นหญ้าใหม่ในฤดูฝนต่อไป

การขยายพันธุ์ของหญ้าไข่เห็บเล็ก หรือ หญ้าดอกเห็บ
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่หญ้าไข่เห็บเล็ก หรือ หญ้าดอกเห็บต้องการ
ประโยชน์ของหญ้าไข่เห็บเล็ก หรือ หญ้าดอกเห็บ
การใช้ประโยชน์ เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติสำหรับแทะเล็มของโค กระบือ ในช่วงต้นฤดูฝน
สรรพคุณทางยาของหญ้าไข่เห็บเล็ก หรือ หญ้าดอกเห็บ
–
คุณค่าทางโภชนาการของหญ้าไข่เห็บเล็ก หรือ หญ้าดอกเห็บ
คุณค่าทางอาหาร อายุประมาณ 40 วัน มีค่า โปรตีน 9.35 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 2.27 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใย 29.49 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 5.94 เปอร์เซ็นต์ คาร์โบไฮเดรท (NFE) 43.31 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 0.17 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.16 เปอร์เซ็นต์

การแปรรูปของหญ้าไข่เห็บเล็ก หรือ หญ้าดอกเห็บ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11262&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com