หมากผู้หมากเมีย หางหงส์
ชื่ออื่นๆ : หมากผู้หมากเมีย หางหงส์
ต้นกำเนิด : เขตร้อนทั่วไป เช่น อินเดีย ไทย มาเลเซีย
ชื่อสามัญ : Cordyline, Ti plant, Dracaena Palm
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cordyline fruticosa (L.) A.Chev. ‘Hanghong’
ชื่อวงศ์ : ASPARAGACEAE
ลักษณะของหมากผู้หมากเมีย หางหงส์
ไม้พุ่มขนาดกลาง อายุหลายปี ลำต้นรูปทรงกระบอกยาว แตกเป็นกอ มีเนื้อไม้เมื่อต้นมีอายุมากขึ้น สูงประมาณ 46 เซนติเมตร ใบเดี่ยว เรียงเวียนสม่ำเสมอ ใบตั้งขึ้น ปลายโค้งลงเล็กน้อย รูปแถบหรือรูปใบหอกแคบ ปลายเรียวแหลม โคนสอบแคบ ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น ใบค่อนข้างหนา เรียบ เกลี้ยง เป็นมัน ยาว 18-20 เซนติเมตร กว้าง 2-3 เซนติเมตร ก้านใบเป็นกาบ มีร่อง สีแดงอมม่วง ยาว 6-7 เซนติเมตร กว้าง 0.5-1 เซนติเมตร บริเวณโคนก้านใบห่อหุ้มลำต้น ขอบใบสีชมพูบานเย็น แผ่นใบสีเขียว เส้นกลางใบและเส้นใบสีชมพูบานเย็น ใบอ่อนสีชมพูอ่อนปนเขียว ดอกออกดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด ออกดอกบริเวณปลายยอด ดอกสีชมพูหรือดอกสีม่วง ขนาดเล็ก

การขยายพันธุ์ของหมากผู้หมากเมีย หางหงส์
เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำลำ แยกเหง้า
ธาตุอาหารหลักที่หมากผู้หมากเมีย หางหงส์ต้องการ
ดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี ต้องการน้ำปริมาณมาก แสงแดดปานกลางถึงรำไร
ประโยชน์ของหมากผู้หมากเมีย หางหงส์
ปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นไม้มงคล นิยมปลูกทั้งในสวนและไม้กระถาง
สรรพคุณทางยาของหมากผู้หมากเมีย หางหงส์
–
คุณค่าทางโภชนาการของหมากผู้หมากเมีย หางหงส์
การแปรรูปของหมากผู้หมากเมีย หางหงส์
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9640&SystemType=BEDO
หมากผู้หมากเมีย หางหงส์ Cordyline fruticosa (L.) A.Chev. ‘Hanghong’