หมากเล็บแมว
ชื่ออื่นๆ : เล็บแมว, ยับเยี่ยว (นครราชสีมา) ตาฉู่แม, ไลชูมี (กะเหรี่ยง –เชียงใหม่) พุทราขอ, เล็ดเยี่ยว, เล็บเหยี่ยว (ภาคกลาง) มะตันขอ, หนามเล็บเหยี่ยว, หมากหนาม (ภาคเหนือ) ยับยิ้ว (ภาคใต้) สั่งคัน (สุราษฎรฝ์ธานี, ระนอง) แสงคํา (นครศรีธรรมราช)
ต้นกำเนิด : ป่าเต็งรังและป่าคืนสภาพ
ชื่อสามัญ : เล็บเหยี่ยว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ziziphus oenoplia (L.) Mill. var. oenoplia
ชื่อวงศ์ : RHAMNACEAE
ลักษณะของหมากเล็บแมว
ต้น เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เถาและกิ่งมีหนามแหลมงอทั่วทั้งต้น เปลือกเถาสีดําเทา เปลือกในสีแดง
ใบ ใบเดี่ยว รูปทรงกลมรีเล็กน้อย ขอบใบเรียบ ท้องใบมีขนนุ่มสั้นๆ หลังใบ สีเขียวเข้ม คล้ายใบพุทรา
ดอก ดอกออกเป็นช่อเล็กๆ เป็นกระจุกตามซอกใบ ออกดอกเดือนมีนาคม – พฤษภาคม
ผล ผลเป็นผลกลม ผลดิบจะมีสีเขียว เมื่อสุกมีสีดำ มี 1 เมล็ด ออกผลเดือนมิถุนายน – สิงหาคม



การขยายพันธุ์ของหมากเล็บแมว
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่หมากเล็บแมวต้องการ
ประโยชน์ของหมากเล็บแมว
- ผลใช้รับประทานเป็นผลไม้
- เปลือกลำต้นมีแทนนิน12% ใช้ฟอกย้อมหนัง
- ในอินเดียรากใช้แก้อาการเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ในอินเดียนิยมปลูกเป็นรั้ว
สรรพคุณทางยาของหมากเล็บแมว
ผลของเล็บแมวกินได้มีรสเปรี้ยวอมหวานมีสรรพคุณทางสมุนไพรทำให้ชุ่มคอ แก้เสมหะ
คุณค่าทางโภชนาการของหมากเล็บแมว
การแปรรูปของหมากเล็บแมว
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10173&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org
https://www.flickr.com
One Comment