เป้ง
ชื่ออื่นๆ : ตุหลุโคดือ หน่อไคว้เส่ เป้งบก ปุ่มเป้ง เป้งดอย ปุ๋มเป้ง(คนเมือง)
ต้นกำเนิด : พบในป่าเต็งรัง
ชื่อสามัญ : เป้งบก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phoenix loureiroi Kunth
ชื่อวงศ์ : ARECACEAE (PALMAE)
ลักษณะของเป้ง
เป็นไม้ต้นจำพวกปาล์ม ต้นเล็กมักเป็นพุ่มกอ มีกาบใบปกคลุมหนาแน่นที่โคนต้น มีรากค้ำจุนจำนวนมาก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบแข็งเป็นเส้นยาว ปลายใบแหลม ท้องใบมักมีสีเขียวนวล ใบย่อยที่อยู่ด้านล่างจะเปลี่ยนรูปเป็นหนามแหลม แผ่นกาบที่โคนใบแตกออกเป็นเส้นใยสีน้ำตาล ดอกออกเป็นช่อ แยกต้น ช่อดอกยาว 30 เซนติเมตร เมื่อแก่ช่อดอกจะเป็นสีส้ม ผลลักษณะกลม รูปรี ออกเป็นกลุ่ม ผลอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีดำ

การขยายพันธุ์ของเป้ง
ใช้ส่วนอื่นๆ/ใช้เมล็ดเพาะ ชอบแสงแดดจัด ขึ้นได้ดีในดินร่วนซุย
ธาตุอาหารหลักที่เป้งต้องการ
ประโยชน์ของเป้ง
– ใบ ใช้ทำไม้กวาด(คนเมือง)
– เนื้อผลมีรสมัน รับประทานได้
ปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี

สรรพคุณทางยาของเป้ง
–
คุณค่าทางโภชนาการของเป้ง
การแปรรูปของเป้ง
ใจกลางต้นมีต้นอ่อน คล้ายๆ มะพร้าวใช้แกงใส่ไก่ ใส่วุ้นเส้น
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9270&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com