เล็บมือนาง ไม้เลื้อย ไม้เถา ไม้ประดับ ไม้ดอกกลิ่นหอม
ชื่ออื่นๆ : จะมั่ง (เหนือ) จ๊ามั่ง (เหนือ) ไท้หม่อง (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) มะจีมั่ง (เหนือ) และ อะดอนิ่ง (มลายู ยะลา)
ต้นกำเนิด : เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะนิวกินี
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aegiceras corniculatum (L.) สฟืแน
ชื่อวงศ์ : Myrsinaceae
ชื่อภาษาอังกฤษ : Rangoon creeper

ลักษณะของเล็บมือนาง
เล็บมือนางลักษณะ เป็นไม้พุ่มไม่ผลัดใบ สูง 3-7 เมตรเเตกกิ่งในระดับต่ำใกล้โคนต้น มีพูพอนเล็กน้อยเปลือกเรียบ สีเทาเข้มถึงน้ำตาล
ใบเล็บมือนาง เป็นใบเดียว ออกเวียนรอกิ่ง หนาแน่นที่ปลายกิ่ง แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง รูปรีถึงรูปไข่กลับ ขนาด 2.5-5 *4-9 ซม. ปลายใบแหลมถึงเว้าตื้นๆ ฐานใบรูปลิ่ม เเผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ผิวใบด้านบนเป็นมันเส้นกลางใบด้านท้องใบสีเเดงเด่นชัด ก้านใบยาว 0.5 – 1 ซม.
ดอกเล็บมือนาง ออกตามงามใบ เป็ช่อแบบวี่ริ่ม แต่ละช่อประกอบด้วยดอก จำนวนมาก ดอกมีกลิ่นหอม ก้านดอกย่อยเรียวยาว 1 – 2 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบไม่ติดกันและติดคงทน กลีบดอก 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยม สีขาว โคนกลีบติดกัน อยู่ในหลอดซึ่ยาว 0.5 – 0.6 ซม. เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะโค้งกลับไปทางฐานดอก เกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านชูอับเรณูสั้น ออกดอกระหว่างเดือน กุมภาพันธื – พฤษภาคม
ผลเล็บมือนาง รูปทรงกระบอกเรียงโค้ง ยาว 5 – 8 ซม. ปลายป็นติ่งเเหลมยาว ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว เมื่อเเก่เป็นสีเขียวอมนำตาล เมล็ดเป็นเเบบงอกตั้วเเต่ผลยังติดอยู่บนต้น ผลเเก่ประมาณเดือน กันยายน – พฤศจิกายน
เเหล่งที่พบ พบกระจาย หรือเป็นกลุ่มตามชายฝั่งเเม่นำ บรเวณที่เป็นที่ดินทรายเเละนำท่วมถึงเสมอ

การขยายพันธุ์ของเล็บมือนาง
เพาะเมล็ด การตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่เล็บมือนางต้องการ
เล็บมือนางเป็นพืชที่ชอบดินร่วนปนทรายและมีความอุดมสมบูรณ์พอควร แสงแดดปานกลาง น้ำปานกลาง ปลูกได้ทุกฤดูกาล การขยายพันธุ์โดยใช้รากหรือเหง้า ที่ต้นอ่อนเกิดขึ้น แยกเอามาชำในที่ชุ่มชื้น
ประโยชน์ของเล็บมือนาง
ใบอ่อนสามารถนำมารับประทานได้ นิยมรับประทานกันในประเทศอินโดนีเซีย ใช้ได้ทั้งดิบและสุกในบ้านเราใช้รับประทานร่วมกับน้ำพริกต่างๆแต่ไม่เป็นที่นิยม ในใบมีคุณค่าทางอาหารเหมือนผักชนิดอื่น ดอกเล็บมือนางนำมารับประทานได้เช่นกัน ส่วนใหญ่จะนำมาชุบแป้งทอด หรือนำมายำรวมกับดอกไม้ ทานได้ชนิดอื่นๆ แต่การจะนำมาเป็นอาหารได้นั้น ควรจะมั่นใจว่าไม่มีการฉีดยาพ่นเพื่อไล่หนอน นอกจากเป็นอาหารแล้วประโยชน์หลักๆคือ ปลูกเป็นไม้ประดับตามรั้วหรือขึ้นร้านเป็นหลังคาที่นั่งผักผ่อน หรือปลูกตามที่ต่างๆ เป็นไม้โตเร็ว ปลูกง่าย มีดอกสวยงาม ให้กลิ่นหอมเย็นโดยเฉพาะในตอนค่ำหรือจะนำมาปลูกริมทะเลก็ได้ เพราะทนน้ำท่วมขัง ทนสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี

สรรพคุณทางยาของเล็บมือนาง
- ราก – ช่วยแก้อาการไอ เป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี แก้ตานขโมย แก้เด็กเป็นซาง
- ใบ – แก้ตัวร้อน แก้ปวดศีรษะ แก้อาการวิงเวียน แก้ไข้ ตำใบพอกรักษาแผล เป็นยาสมานแผล หรือใช้ทาแก้แผลฝี แก้อักเสบ
- ดอก – ดอกสดนำไปเป็นอาหารจะมีสรรพคุณช่วยย่อยได้ ดอกแห้งใช้ต้มกับน้ำแล้วนำมาดื่มจะมีสรรพคุณเป็นยาแก้ท้องเสียได้
- ผล – ช่วยย่อยอาหารให้ดีขึ้น ช่วยลดอาการข้างเคียงที่เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อกระบังลมได้ และทำให้ม้ามแข็งแรง
- เมล็ด – ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบาย แก้ท้องอืดเฟ้อ น้ำต้มเมล็ดช่วยแก้ถ่ายปวดบิด นำเมล็ดแช่ในน้ำมันใช้รักษาโรคผิวหนัง
คุณค่าทางโภชนาการของเล็บมือนาง
–
การแปรรูปของเล็บมือนาง
เล็บมือนางสามารถนำมาแปรรูป โดยการนำดอกเล็บมือนางมาชุบแป้งทอด หรือนำมายำรวมกับดอกไม้
เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับเล็บมือนาง
References : www.bedo.or.th
รูปภาพจาก : www.flickr.com, linaherbs.blogspot.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม