เสาวรส
ชื่ออื่นๆ : สุคนธรส, กะทกรก, กะทกรกยักษ์, กะทกรกฝรั่ง, กะทกรกสีดา, และเสาวรสสีดา
ต้นกำเนิด : ทวีปอเมริกาใต้
ชื่อสามัญ : Jamaica honey-suckle, Passion fruit, Yellow granadilla
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Passiflora edulis
ชื่อวงศ์ : Passifloraceae
ลักษณะของเสาวรส
ต้น เป็นไม้เถาเลื้อย เถามีลักษณะกลม โคนเป็นไม้เนื้อแข็งเหนียว เถาเลื้อยได้ถึง 15 เมตร ลำต้นเป็นเถา สีเขียว ข้างในกลวง มีมือเกาะ
ใบ ใบเดี่ยวรูปไข่ ออกเรียงสลับกัน ใบมีสีเขียวเข้มหรือเขียวแซมแดงม่วงขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ ใบจริงโดยทั่วไปเป็นใบเดี่ยวมี 3 แฉกบ้าง แต่ใบจริงในขณะที่เป็นต้นกล้าจะเป็นรูปไข่ไม่มีแฉก ตามขอบใบจะมีหยักละเอียดโดยรอบ มีมือจับหรือหนวดอยู่ตามข้อม้วนขดเป็นวงส้าหรับยึดล้าต้นให้เลื้อยเกาะหลักที่ปักพยุงไว้
ดอก ออกดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ ห้อยคว่ำคล้ายกับดวงไฟโคม กาบดอกหุ้มสีเขียว กลีบชั้นนอกเป็นรูปกระบอก ปลายแฉกด้านหลังมีสีเขียวแก่ ด้านในมีสีม่วงอ่อนประกอบด้วยจุดแดง ๆ กลีบชั้นในลักษณะคล้ายกับตัวแฉกของกลีบชั้นนอก สีม่วงอ่อนหรือชมพูอ่อนมีประสีแดงแซม กลีบย่อยกลางมีเป็นชั้น ๆ สองชั้นแต่ละกลีบค่อนข้างกลม สีม่วงแก่ พาดด้วยปลายสีขาวสลับแดง มีเกสรอยู่ตรงกลางสีเขียวนวล ดอกมีกลิ่นหอมแรงจัดมาก ปลายเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน เป็นช่วงที่เสาวรสจะเริ่มออกดอก
ผล เป็นรูปไข่หรือไข่ยาว มีหลายพันธุ์ บางพันธุ์ ผิวผลสีม่วง สีเหลือง สีส้มอมน้ำตาล เปลือกผล เรียบ เนื้อรับประทานได้ มีเมล็ดจำนวนมาก อยู่ตรงกลาง ผลรสเปรี้ยว บางพันธุ์มีรสอมหวาน และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เยื่อหุ้มเมล็ดหรือรกนี มีความเป็นกรดสูงสามารถรับประทานสดหรือใช้ผสมทำ เป็นอาหารและเครื่องดื่มได้ ให้ผลผลิตมาก ตั้งแต่เดือนกันยายน-ธันวาคม

การขยายพันธุ์ของเสาวรส
ใช้เมล็ด/นำเมล็ด จากผลที่สุกจัด นำมาเพาะ
โดยทั่วไปแล้วเสาวรสสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือชนิดผลสีม่วง และชนิดผลสีเหลืองซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันคือ
1. เสาวรสชนิดผลสีม่วง (Passiflora edulis)
เสาวรสชนิดนี้ผิวผลจะเป็นสีม่วงผลมีลักษณะกลมหรือรูปไข่ ดอกสามารถผสมตัวเองได้ดีดอกจะบานในตอนเช้า ผลสุกมีรสหวานและกลิ่นหอมกว่าพันธุ์สีเหลือง แต่ผลมักจะมีขนาดเล็กกว่าคือเส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 4-5 เซนติเมตร น้ำหนัก 50-60 กรัมต่อผล
2. เสาวรสชนิดผลสีเหลือง (Deneger P. edulis Forma F. flavicarpa)
ลักษณะผิวผลจะมีสีเหลืองผลมีขนาดใหญ่กว่าชนิดผลสีม่วงคือเส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 6 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 80-120 กรัมต่อผล เนื้อในให้ความเป็นกรดสูงกว่าชนิดสีม่วง จึงมีรสเปรี้ยวมากและใช้แปรรูป เป็นหลัก
เสาวรสชนิดผลสีเหลืองดอกจะบานในตอนเที่ยงส่วนใหญ่ผสมตัวเองไม่ติดต้องผสมข้ามต้นแต่ต้นมีทนทานต่อโรคต้นเน่า เถาเหี่ยว โรคไวรัสและทนต่อไส้เดือนฝอยมากกว่าพันธุ์สีม่วงจึงนิยมใช้เป็นต้นตอในการเสียบกิ่งของพันธุ์ม่วง

ธาตุอาหารหลักที่เสาวรสต้องการ
ประโยชน์ของเสาวรส
- ยอดเสาวรสนำไปแกงหรือกินกับน้ำพริก
- ช่วยเรื่องบำรุงสายตา
- ช่วยให้ขับถ่ายคล่อง
- ช่วยทำให้ผิวพรรณสดใส
- วิตามิน C สูง สร้างภูมิต้านทาน
- แก้โรคนอนไม่หลับ


สรรพคุณทางยาของเสาวรส
สรรพคุณ : ลดไขมันในเส้นเลือด
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ผลที่แก่จัด ไม่จำกัดจำนวน ล้างสะอาด ผ่าครึ่ง คั้นเอาแต่น้ำ เติมเกลือและน้ำตาลเล็กน้อย ให้รสกลมกล่อมตามชอบ ใช้ดื่มเป็นน้ำผลไม้ ลดไขมันในเส้นเลือด

คุณค่าทางโภชนาการของเสาวรส
การแปรรูปของเสาวรส
- ผลสุกของเสาวรสนำมาทำน้ำผลไม้และไวน์ หรือเติมลงในน้ำผลไม้ชนิดอื่นเพื่อเพิ่มกลิ่น
- เนื้อเสาวรสไปทำขนมได้หลายชนิดทั้งเค้ก ไอศกรีม แยม เยลลี
- เมล็ดนำไปสกัดน้ำมันพืช ทำเนยเทียม
- เปลือกนำไปสกัดสารเพกทินหรือนำมาตากแห้งเป็นอาหารสัตว์
- เปลือกเสาวรสที่อ่อนบางพันธุ์มีสารประกอบไซยาไนต์เล็กน้อยโดยเฉพาะผลสีม่วง แต่เมื่อนำเปลือกมาทำแยมด้วยความร้อนสูง สารประกอบไซยาไนต์จะหายไป

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11459&SystemType=BEDO
http:// www.forest.go.th
https://www.flickr.com
2 Comments