เห็ดกระด้าง
ชื่ออื่นๆ : เห็ดกระด้าง, เห็ดบด (อีสาน) เห็ดลม (เหนือ)
ต้นกำเนิด : เห็ดกระด้างเป็นเห็ดพื้นบ้านของประเทศไทย
ชื่อสามัญ : เห็ดลม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lentinus polychrous Lev.
ชื่อวงศ์ : Polyporaceae
ลักษณะของเห็ดกระด้าง
เป็นเห็ดพื้นเมืองที่มีรสชาติดี ในธรรมชาติมักพบบนขอนไม้ล้มหรือขอนไม้ที่ตายแล้ว ในตระกูลเต็งรังหรือไม้ใบกว้าง พบในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนหรือฤดูฝนต่อฤดูหนาว ที่อุณหภูมิกลางวันและกลางคืนต่างกันมากๆ
บริเวณหมวกเห็ดจะเป็นทรงกรวยลึกมีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อนแกมเทา ตรงขอบหมวกเห็ดจะงอลง และมีขนสั้นๆ ขึ้นปกคลุมอยู่ ส่วนดอกเห็ดนั้นจะม้วนงอลงมีขอบบางๆ ส่วนบริเวณครีบนั้นจะแคบและบางๆ โดยเมื่อแห้งแล้วจะค่อนข้างเหนียวและค่อนข้างแข็ง ซึ่งบริเวณขอบครีบนี้จะคล้ายกับฟันเลื่อย ก้านดอกจะเหนียว แข็ง และสากมือ และเนื้อเห็ดชนิดนี้จะเป็นสีขาวอมเทา มักขึ้นอยู่ตามขอนไม้ผุที่ชื้น และมีกลิ่นหอมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

การขยายพันธุ์ของเห็ดกระด้าง
การทำถุงก้อนเชื้อ ควรเริ่มในเดือนกุมภาพันธุ์ดีที่สุด เพื่อให้ทันช่วงที่อุณหภูมิเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเห็ดบด การทำถุงก้อนเชื้อจะใช้ขี้เลื่อยยางพาราเป็นวัสดุเพาะ โดยใช้วัสดุอาหารอื่นๆผสมตามสูตร ดังนี้
1. ขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม
2. รำละเอียด 7.5 กิโลกรัม
3. ปลายข้าว 1 กิโลกรัม
4. ปูนขาว 2 กิโลกรัม
5. ยิปซัม 0.5 กิโลกรัม
6. ดีเกลือ 0.2 กิโลกีัม
7. ความชื้น (น้ำ) 65-70 %
8. ภูไมท์ 2-4 กิโลกรัม
วิธีบรรจุและนึ่งก้อนเชื้อ
1. บรรจุอาหารเพาะลงในถุงพลาสติกทนร้อนกดให้แน่น ประมาณ 2/3 ของถุง
2. รวบปากถุง สวมคอขวดพลาสติก พับปากถุงลงและดึงให้ตึง จากนั้นใช้จุกประหยัดอุดลงไป
3. นำไปนึ่งฆ่าเชื้อ ที่อุณหภูมิ 90-100 องศาเซลเซียส สม่ำเสมอ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง จากนั้นทิ้งให้เย็น
4. นำถุงก้อนเชื้อที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว มาใส่เชื้อจากหัวเชื้อเห็ดที่เตรียมไว้ โดยทั่วไปจะเลี้ยงในเมล็ดข้าวฟ่าง จากนั้นใช้ไม้หรือแท่งเหล็กที่มีลักษณะแข็งจุ่มแอลกอฮอล์ แล้วเขี่ยให้เมล็ดข้าวฟ่างแตกตัวออกจากกัน จากนั้นก็หยอดหัวเชื้อเห็ดลงในถุงก้อนเชื้อเห็ด โดยปฎิบัติในพื้นที่ที่สะอาด ป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคและแมลง
5. นำไปวางไว้ในโรงเรือนหรือสถานที่สำหรับเพาะบ่มเส้นใย อุณหภูมิประมาณ 28-35 องศาเซลเซียส เพื่อให้เส้นใยเจริญเติบโต
ธาตุอาหารหลักที่เห็ดกระด้างต้องการ
ประโยชน์ของเห็ดกระด้าง
- ดอกอ่อนนำมาผัดน้ำมันหอย ทำแกงส้มใส่ในแกงหน่อไม้ ดอกแก่นำมาใส่แกงแคหรือซุปแบบอีสาน จึงเป็นที่นิยมรับประทานของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรง และสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
เห็ดมักเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในอาหารมังสวิรัติเนื่องจากให้คาร์โบไฮเดรต และโปรตีนสูงแล้ว นอกจากนี้ยังมีสารอื่นๆ ที่มีผลเชิงบวกต่อร่างกาย โดยเห็ดที่นิยมบริโภคมากได้แก่ เห็ดหอม เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดขอนขาว เห็ดกระด้าง เห็ดหูหนู เห็ดโคน และเห็ดเผาะ เป็นต้น และปัจจุบันมีเห็ดที่นำเข้าและเพาะได้อีกหลายชนิด เช่นเห็ดออเรนจิ เห็ดเข็มทอง เห็ดหิมะขาว เห็ดหิมะดำ เป็นต้น ในช่วงที่มีโรคอุบัติใหม่ระบาด เช่น กรณีการระบาดทั่วโลกของไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ในขณะนี้ได้ส่งผลให้เกิดภาวะการติดเชื้อในวงกว้าง มีผลต่อการสูญเสียทั้งสุขภาพกายจิตและเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลก มีปัจจัยหลายประการที่มีผลกระทบจนทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตได้โดยปัจจัยที่สำคัญคือ การตอบสนองของร่างกายเพื่อจัดการกับเชื้อไวรัส และพบว่าผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ส่วนผู้ป่วยที่มีร่างกายแข็งแรงจะมีอาการของโรคที่ไม่รุนแรงและสามารถหายจากโรคได้ ดังนั้นการมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีของร่างกายจึงจัดเป็นปัจจัยสำคัญในการต่อสู้และเอาชนะไวรัสนี้ การบริโภคอาหารสมุนไพรที่มีผลเสริมภูมิคุ้มกันจึงมีความสำคัญ การบริโภคเห็ดจึงน่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการดูแลสุขภาพหรืออาจกล่าวได้ว่าเห็ดเป็นทั้งอาหารและยาได้ งานวิจัยในด้านสารสำคัญพบว่า เห็ดกระด้าง มีสารกลุ่มสารโพลีแซคคาไรด์ที่มีขนาดโมเลกุลสูงคล้ายคลึงกับสารสำคัญในเห็ดอื่นๆ ที่มีรายงานฤทธิ์ทางชีวภาพที่เป็นประโยชน์หลายด้าน เนื่องจากเห็ดกระด้างเป็นอาหารที่มีการบริโภคกันอยู่แล้วและมีงานวิจัยรองรับในเรื่องความปลอดภัย ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง ต้านไวรัส ต้านการอักเสบ และปรับภูมิคุ้มกัน จึงควรสนับสนุนให้นำมารับประทานเพื่อช่วยเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดเป็นวงกว้างของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคอุบัติใหม่และเป็นการช่วยดูแลตนเองเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายในการจัดการปัญหาและการต่อสู้กับไวรัส
สรรพคุณทางยาของเห็ดกระด้าง
- ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ให้มีเรี่ยวแรงและพละกำลังได้เป็นอย่างดี
- ช่วยแก้อาการไข้
- ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า ไม่อ่อนเพลีย
- ช่วยป้องกันโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
- ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันอันตรายจากโรคเบาหวาน
- ช่วยปรับความสมดุลภายในร่างกายให้ทำงานได้ประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ
มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง แก้พิษไข้ได้ดี งานวิจัยในด้านสารสำคัญพบว่าเห็ดกระด้างมีสารกลุ่มสารโพลีแซคคาไรด์ที่มีขนาดโมเลกุลสูงคล้ายคลึงกับสารสำคัญในเห็ดอื่นๆ ที่มีรายงานฤทธิ์ทางชีวภาพที่เป็นประโยชน์หลายด้าน เนื่องจากเห็ดกระด้างเป็นอาหารที่มีการบริโภคกันอยู่แล้วและมีงานวิจัยรองรับในเรื่องความปลอดภัย ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง ต้านไวรัส ต้านการอักเสบ และปรับภูมิคุ้มกัน จึงควรสนับสนุนให้นำมารับประทานเพื่อช่วยเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดเป็นวงกว้างของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคอุบัติใหม่และเป็นการช่วยดูแลตนเองเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายในการจัดการปัญหาและการต่อสู้กับไวรัส
จากงานวิจัย พบว่า “แคปซูล” จากสารสะกัดเห็ดกระด้าง สามารถลดไขมันในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ติดเชื้อ HIV ได้ผลดี จะทำให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวต่อไปได้อีก
คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดกระด้าง
การแปรรูปของเห็ดกระด้าง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11909&SystemType=BEDO
https://www.opsmoac.go.th
https://ccpe.pharmacycouncil.org
https://www.flickr.com