แพงพวยบก
ชื่ออื่นๆ :นมอิน (สุราษฎร์ธานี) ผักปอดบก (ภาคเหนือ) แพงพวยฝรั่ง (กรุงเทพมหานคร)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Cape Periwinkle, Bringht Eye, Indian Periwinkle, Madagascar Periwinkle, Pinkle-pinkle, Pink Periwinkle, Vinca
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Catharanthus roseus (L.) G.Don
ชื่อวงศ์ : Apocynaceae
ลักษณะของแพงพวยบก
ต้น ไม้ล้มลุกต้นเตี้ย สูง 0.5-0.9 เมตร โคนต้นค่อนข้างแข็ง
ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่กลับ กว้าง 2-3 เซ็นติเมตร ยาว 5-7 เซ็นติเมตร ปลายมนหรือเว้าเข้าเล็กน้อย โคนมนสีเขียวเข้มเป็นมันก้านและเส้นกลางใบมีสีขาว
ดอก มีหลายสี เช่น ขาว ม่วง ชมพู ฯลฯ ออกตามซอกใบ 1-3 ดอก กลีบดอกเป็นหลอดยาว 2.5-3 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 5 อัน ผล เป็นฝักยาว 2-3 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกได้

การขยายพันธุ์ของแพงพวยบก
ใช้กิ่ง/ลำต้น
ธาตุอาหารหลักที่แพงพวยบกต้องการ
ประโยชน์ของแพงพวยบก
ปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี เพราะจะมีดอกสีขาวผสมกับสีชมพูให้ได้ชมตลอดทั้งปี
สรรพคุณทางยาของแพงพวยบก
ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก ทั้งต้นสดหรือแห้ง
- ใบ บำรุงหัวใจ ช่วยย่อย
- ราก แก้บิด ขับพยาธิ ใช้ห้ามเลือด รักษามะเร็งในเม็ดเลือด
- ทั้งต้น แก้เบาหวาน ลดความดัน รสจืด เย็นจัด ใช้แก้ร้อน ขับปัสสาวะ แก้บวม ถอนพิษสำแดง ถอนพิษต่างๆ แก้ไอแห้งๆ เกิดจากร้อน แก้อาการตัวเหลืองอันเกิดจากพิษสุรา แก้โรคหนองใน หัด ผื่นคันและแผลอักเสบอื่นๆ
วิธีและปริมาณที่ใช้
ทั้งต้นแห้ง 15-30 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรือใช้ต้นสดคั้นเอาน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ตำพอกหรือสุมไฟให้เป็นถ่านผสมพอก
คุณค่าทางโภชนาการของแพงพวยบก
การแปรรูปของแพงพวยบก
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11637&SystemType=BEDO
www.flickr.com