โคลงเคลง ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ ตกแต่งในสวนหย่อม

โคลงเคลง

ชื่ออื่นๆ : กะดูดุ (มลายู-ปัตตานี) กาดูโด๊ะ (มลายู-สตูล, ปัตตานี) โคลงเคลง, โคลงเคลงขี้นก, โคลงเคลงขี้หมา (ตราด) ซิซะโพ๊ะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ตะลาเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เบร์, มะเหร, มังเคร่, มังเร้, สาเร, สำเร (ภาคใต้) มายะ (ชอง-ตราด) อ้า, อ้าหลวง (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด : ประเทศไทย มาเลเซีย ออสเตรเลีย

ชื่อสามัญ : Malabar gooseberry, Malabar melastome, Melastoma, Indian rhododendron

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melastoma malabathricum L.

ชื่อวงศ์ : MELASTOMATACEAE

ลักษณะของโคลงเคลง

ลำต้น ไม้พุ่มสูง 1-3 เมตร กิ่งสีน้ำตาลแดง เป็นเหลี่ยม มีขนละเอียดสีน้ำตาลอ่อนปกคลุม

ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ และสลับตั้งฉาก รูปใบหอก ปลายและโคนแหลม แผ่นใบค่อนข้างแข็ง ผิวมีเกล็ดเล็กแหลม มีเส้นใบออกจากโคนใบไปจรดกันที่ปลายใบ 3-5 เส้น เส้นใบย่อยเรียงแบบขั้นบันได

ดอก ดอกสมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ช่อละ 3-5 ดอก ดอกสีม่วงอมชมพู ถ้วยรองดอกปกคลุมด้วยเกล็ดแบนเรียบ กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบสีม่วงแดง กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่ ปลายกลีบมน โคนแต้มสีขาว มีเกสรเพศผู้สีเหลือง 10 เกสร เรียงเป็นวง 2 วง และมีรยางค์สีม่วงโค้งงอ

ผล ผลรูปถ้วยปากผาย ขนาด 1.5 เซนติเมตร มีเมล็ดจำนวนมาก ผลแก่มีสีดำ เมื่อแก่เปลือกจะแห้ง และแตกออก ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก

โคลงเคลง
โคลงเคลง ใบรูปหอก ปลายและโคนแหลม แผ่นใบค่อนข้างแข็ง
ดอกโคลงเคลง
ดอกโคลงเคลง ดอกสีม่วง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ

การขยายพันธุ์ของโคลงเคลง

การเพาะเมล็ด, แยกกอ, ปักชำกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่โคลงเคลงต้องการ

ประโยชน์ของโคลงเคลง

ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับเพื่อตกแต่งในสวนหย่อม เนื่องจากมีทรงพุ่มและดอกที่สวยงาม

ผลโคลงเคลง
ผลโคลงเคลง ผลเป็นรูปถ้วย

สรรพคุณทางยาของโคลงเคลง

เป็นยาพื้นบ้าน แก้คอพอก แก้อาเจียนเป็นเลือด และถ่ายเป็นเลือด ราก แก้ร้อนในกระหายน้ำ

คุณค่าทางโภชนาการของโคลงเคลง

การแปรรูปของโคลงเคลง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10707&SystemType=BEDO
https:// data.addrun.org
https://www.flickr.com

Add a Comment