กระบาก
ชื่ออื่นๆ : กระบากขาว (ชลบุรี,สงขลา) กระบากโคก(ตรัง) กระบากด้าง, กระบากช่อ (ชุมพร) กระบากดำ (ชุมพร,สุราษฎร์ธานี) กระบากแดง (ชุมพร,ระนอง) ตะบาก(ลำปาง) บาก(ชุมพร) พนอง (จันทบุรี,ตราด)
ต้นกำเนิด : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ชื่อสามัญ : Mesawa
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anisoptera costata Korth.
ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
ลักษณะของกระบาก
ต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 20 – 30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมลำต้นเปลาตรง โคนต้นมักเป็นพูพอน เปลือก สีน้ำตาลเทา แตกเป็นร่องตามความยาวของลำต้น เปลือกในสีเหลืองอ่อนเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ
ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับแผ่นใบรูป ขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ ท้องใบมีขนสีน้ำตาลปนเหลือง กว้าง 3 – 8 เซนติเมตร ยาว 6 – 16 เซนติเมตร ปลายใบทู่มนกว้างหรือหยักเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบมน
ดอก ดอกเล็กสีขาวปนเหลืองอ่อนออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและ ปลายกิ่ง
ผล ผลกลมผิวเรียบ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร มีปีกยาว 2 ปีก รูปไข่กลับ และปีกสั้น 3 ปีก


การขยายพันธุ์ของกระบาก
ใช้เมล็ด, เด็ดปีกออกก่อนนำไปเพาะ
ขึ้นอยู่ตามป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณชื้นที่มีการถ่ายเทน้ำได้ดีทั่วไป ที่สูงจากยกระดับน้ำทะเล 10 – 400 เมตร มีมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้
ธาตุอาหารหลักที่กระบากต้องการ
สภาพดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ประโยชน์ของกระบาก
- ต้นไม้ประจำจังหวัด ยโสธร
- เนื้อไม้สีน้ำตาลปนเหลือง เนื้อหยาบ ใช้ทำไม้แบบ ลังใส่ของ เสา ฝา พื้น ตง รอด
- ชันใช้ผสมน้ำมันทาไม้ น้ำมันชักเงา ยาแนวไม้และเรือ

สรรพคุณทางยาของกระบาก
คุณค่าทางโภชนาการของกระบาก
การแปรรูปของกระบาก
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9279&SystemType=BEDO
www.gotoknow.org
One Comment