มะขามเครือ
ชื่ออื่นๆ : มันขาม (ปัตตานี-ภาคใต้) มะขามเครือ (นครราชสีมา-ภาคเหนือ)
ต้นกำเนิด : พบตามบริเวณป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้นทั่วไป
ชื่อสามัญ : มะขามเครือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Roureopsis stenopetala (Griff.) Schellenb
ชื่อวงศ์ : CONNARACEAE
ลักษณะของมะขามเครือ
ต้น : เป็นไม้เถา ลักษณะของลำต้นเป็นเถายาว ขนาดใหญ่ กิ่งก้านอ่อนจะมีขนเป็นสีน้ำตาลปนเหลืองขึ้นประปราย แต่เมื่อแก่ขึ้นขนนั้นก็จะหลุดออก เป็นผิวเกลี้ยง
ใบ : ใบออกเป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงข้ามกันแบบขนนก ใบย่อยมีประมาณ 11-12 ใบ ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปรี มีขนาดยาวประมาณ 1.7 ซม. กว้างประมาณ 1.2 ซม.ผิวเนื้อใบหนา ใต้ท้องใบมีเส้นกลางใบนูนออกมีขนขึ้น และเส้นใบเห็นได้ชัดมี 4-5 คู่
ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีประมาณ 6 ดอก ช่อยาวราว 1.5-2 ซม. ดอกออกบริเวณง่าม ใบ ลักษณะของดอกย่อยมีกลีบรองดอก และกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ กลีบรองกลีบดอกเป็นรูปไข่ ปลายแหลม ยาวประมาณ 3-5 มม. กลีบดอกเป็นรูปขอบขนาน มีขนเล็กน้อย ยาวประมาณ 8 มม.
ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปยาวรี พื้นผิวเรียบเกลี้ยง มีขนาดยาวประมาณ 1.5 ซม.


การขยายพันธุ์ของมะขามเครือ
ใช้เมล็ด
เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ทนต่อแสงแดดได้ดี ขึ้นได้ดีในดินทุกประเภท
ธาตุอาหารหลักที่มะขามเครือ
ประโยชน์ของมะขามเครือ
สรรพคุณทางยาของมะขามเครือ
ส่วนที่ใช้ : ลำต้น และใบ
สรรพคุณ : ลำต้นและใบ ใช้ลำต้นและใบแห้ง นำมาตำให้เป็นผงละเอียด ทำเป็นยาชงกินแก้ไข้เป็นยาบำรุงร่างกาย หรือใช้เป็นยาพอกแผล เป็นต้น
คุณค่าทางโภชนาการของมะขามเครือ
การแปรรูปของมะขามเครือ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12132&SystemType=BEDO
https://www.youtube.com
https://www.flickr.com