เหมือดจี้ พลองขี้นก
ชื่ออื่นๆ : เหมือดจี้, เหมือดฟอง(ภาคเหนือ) เหมือดแอ (อุบลราชธานี) พลองขี้นก (ปราจีนบุรี,ประจวบคีรีขันธ์) พะงาด (นครราชสีมา) เก๊าจี้ (คนเมือง) ริโค่ควี (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : เหมือดจี้, พลองขี้นก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Memecylon scutellatum Naud
ชื่อวงศ์ : MELASTOMACEAE
ลักษณะของเหมือดจี้ พลองขี้นก
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงถึง 9 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม บาง มีรอยแตกละเอียด เปลือกชั้นในสีครีม
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้ามในระนาบ ใบแก่เหนียวคล้ายหนังและเป็นมัน เส้นใบข้างเลือนรางจรดกันที่ขอบใบ ก้านใบเรียวเล็ก 0.2- 0.4 เซนติเมตร กิ่งก้านหน้าตัดเป็นสี่เหลี่ยมมี 4 สัน
ดอก ออกเป็นช่อแน่น สีม่วงอมน้ำเงินก้านดอก 0.2 เซนติเมตร เรียวเล็กมีรอยต่อ และใบประดับที่ฐาน ชั้นกลีบเลี้ยงรูปกรวยมีปลายแยก 4 แฉก กลีบดอก 4 กลีบ บานโค้งกลับและหลุดร่วงง่าย
ผล ผลเป็นผลเดี่ยว กลมแป้น มีก้านเกสรตัวเมียติดข้างบน มีเนื้อบางและเม็ดขนาดใหญ่ ผลสุกสีม่วงดำ

การขยายพันธุ์ของเหมือดจี้ พลองขี้นก
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่เหมือดจี้ พลองขี้นกต้องการ
ประโยชน์ของเหมือดจี้ พลองขี้นก
- ใบอ่อน ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักสดกับอาหารจำพวก ลาบ ยำ
- ผลสุก รับประทานเป็นผลไม้ รสฝาด มัน ผลสุกมีรสหวาน
- เนื้อไม้ ใช้ทำด้ามมีด ด้ามค้อน(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- กิ่งก้านที่เอาใบออกแล้วมัด รวมกันใช้ทำไม้กวาด (คนเมือง)

สรรพคุณทางยาของเหมือดจี้ พลองขี้นก
ราก ต้มน้ำดื่มแก้อาการเจ็บคอหรือไอ(คนเมือง)
คุณค่าทางโภชนาการของเหมือดจี้ พลองขี้นก
การแปรรูปของเหมือดจี้ พลองขี้นก
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12131&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com