แก้วมังกร ไม้เลื้อยลำต้นอ่อน เนื้อมีเมล็ดสีดำเล็กคล้ายๆเม็ดงา หรือเม็ดแมงลัก
ชื่ออื่นๆ : –
ต้นกำเนิด : ทวีปอเมริกากลาง
ชื่อสามัญ : แก้วมังกร Dragon fruit ,Pitahaya
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hylocercus undatus (Haw) Brit. & Rose
ชื่อวงศ์ : Cactaceae
ชื่อภาษาอังกฤษ : Dragon fruit

ลักษณะของแก้วมังกร
แก้วมังกร เป็นไม้เลี้อยมีลำต้นอ่อน ผลแก้วมังกรมีรูปทรงเป็นทรงกลมรี สีของเปลือกแก้วมังกรมีลักษณะสีแดงม่วงหรือสีบานเย็น มีกลีบเลี้ยงสีเขียวติดอยู่รอบผล ผลแก้วมังกรส่วนใหญ่มีน้ำหนักประมาณ 300 – 600 กรัม เมื่อผ่าผลแก้วมังกรจะเห็นเนื้อของผลแก้วมังกรสีขาวหากผลนั้นเป็นแก้วมังกรพันธุ์เวียดนามหรือพันธุ์ไทย และเนื้อผลจะมีสีแดงหรือชมพูเมื่อผลนั้นเป็นพันธุ์เนื้อสีแดง โดยมีเมล็ดสีดำเล็กคล้ายๆเม็ดงา หรือเม็ดแมงลัก กระจายฝังอยู่ทั่วเนื้อ
แก้วมังกร มีพื้นเพดั้งเดิมอยู่ในอเมริกากลาง เข้ามาในเอเชียที่เวียดนามก่อน โดยบาทหลวงชาวฝรั่งเศสเมื่อประมาณ 100 ปีมาแล้วและเพิ่งเข้ามาในไทยเมื่อประมาณ 5 ปี แต่เป็นพันธุ์เนื้อในขาวส่วนพันธุ์เนื้อในแดงที่ชื่อแดงสยามเป็นพันธุ์มาจากไต้หวัน เมื่อประมาณ 1-2 ปีนี้เองมีลำต้นยาวประมาณ 5 เมตร มีรากทั้งในดินและรากอากาศ ชอบดินร่วนระบายน้ำดี ชอบแสงแดดพอเหมาะ โล่งแจ้ง แต่ไม่แรงกล้าเกินไป ดอกขนาดใหญ่ยาวประมาณเกือบหนึ่งฟุต ให้ผลผลิตปลายเดือนเมษายนจนถึงปลายเดือนกันยายน
การขยายพันธุ์ของแก้วมังกร
ใช้กิ่ง/ลำต้น/แก้วมังกรเป็นไม้เลื้อยลำต้นอ่อนจำเป็นต้องมีหลักให้ลำต้นเกาะยึดซึ่งหลักจะเป็นไม้เนื้อแข็งหรือเสาซีเมนต์ก็ได้ ถ้าใช้ท่อซีเมนต์เป็นเสาซึ่งรูปทรงกลมภายในกลวงแต่เทปูนไว้ก้นท่อเพื่อไว้ใส่น้ำหล่อเลี้ยงให้เสามีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ฝังท่อซีเมนต์ลงในดินประมาณ 40 – 50 เซนติเมตร ต้องสูงจากพื้นดินประมาณ 1.5 – 2 เมตร ด้านบนของเสาทำเป็นร้านให้กิ่งเกาะแผ่ขยายออกไประยะปลูก 3 x 3 เมตร เตรียมหลุมขนาด 30 x 30 x 30 เซนติเมตร รอบ ๆ หลัก หลักละ 4 หลุม สำหรับปลูกหลุมละ 1 ต้น รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักเก่า 1 ปุ้งกี๋ เมื่อนำกิ่งพันธุ์ลงหลุมแล้วมัดกิ่งพันธุ์ให้แนบหลักและกันแดดให้ 1 – 2 สัปดาห์
ธาตุอาหารหลักที่แก้วมังกรต้องการ
–
ประโยชน์ของแก้วมังกร
แก้วมังกรเป็นผลไม้ที่สามารถรับประทานเพื่อบรรเทาอาการโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน ตลอดจนช่วยลดความอ้วนเนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีแคลลอรี่ต่ำ แก้วมังกรเป็นผลไม้ที่มีกากใยสูงจึงช่วยให้การขับถ่ายสะดวก สบาย อีกทั้งยังมีวิตามินและแร่ธาตุต่างๆที่ช่วยทั้งในเรื่องการบำรุงผิวพรรณ กระดูกและฟันแข็งแรง ดังนั้นเป็นผลไม้เสริมสุขภาพ และความงามได้เป็นอย่างดี แก้วมังกรยังมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกอย่างคือ ช่วยดูดซับสารพิษต่างๆ ออกจากร่างกาย เช่น สารตกค้างจากยาฆ่าแมลงที่มากับผักที่เรากินกันทุกวัน สารตกค้างเช่นตะกั่ว ที่มาจากควันท่อไอเสียรถยนต์ และสารอื่นๆ และยังช่วยลดการเกิดมะเร็งอีกด้วย
สรรพคุณทางยาของแก้วมังกร
- แก้วมังกรเป็นพืชในตระกูลกระบองเพชร ซึ่งมีสารที่มีประโยชน์คือมิวซิเลจ (Mucilage) ที่มีลักษณะคล้ายวุ้นเจลช่วยดูดซับน้ำในร่างกาย ควบคุมระดับกลูโคสในคนที่เป็นโรคเบาหวาน (ชนิดไม่พึ่งอินซูลิน)ได้
- แก้วมังกรยังมีประโยชน์ในการบรรเทาโรคโลหิตจางช่วยเพิ่มธาตุเหล็กให้แก่ร่างกาย
- นอกจากนี้ผลแก้วมังกรยังมีสรรพคุณในการป้องกันโรคหัวใจ มะเร็งลำไส้และต่อมลูกหมาก เบาหวาน ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของกระดูกและฟัน
คุณค่าทางโภชนาการของแก้วมังกร
- คุณค่าทางโภชนาการของแก้วมังกร 100 กรัม
- พลังงาน – แคลลอรี่
- โปรตีน 0.53 กรัม
- ไขมัน – กรัม
- คาร์โบรไฮเดรต – กรัม
- ไฟเบอร์ 0.71 กรัม
- แร่ธาตุ
- แคลเซียม 134.5 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 8.7 มิลลิกรัม
- เหล็ก – มิลลิกรัม
- โพรแทสเซียม 212.2 มิลลิกรัม
- แมกนีเซียม – มิลลิกรัม
- วิตามิน
- วิตามินเอรวม – I.U.
- วิตามินบี1 (Thiamine) – มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 (Riboflavin) – มิลลิกรัม
- วิตามินบี 1 และบี 2 – มิลลิกรัม
- วิตามินซี 9.4 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 3 – มิลลิกรัม
การแปรรูปของแก้วมังกร
–
References : www.bedo.or.th
ภาพประกอบ : www.th.wikipedia.org
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม
2 Comments