กุ๊ก
ชื่ออื่นๆ : มะกอกเลื่อม, มะกอกเกลื้อน, มะเลื่อม, กุ๊ก, อ้อยช้าง, มักเหลี่ยม
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : กุ๊ก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lannea coromandelica (Houtt.) Merr.
ชื่อวงศ์ : Anacardiaceae
ลักษณะของกุ๊ก
ต้น ไม้ต้น สูงได้ถึง 13 เมตร เปลือกสีเขียวแกมเทา แตกเป็นสะเก็ดรูปสี่เหลี่ยม เนื้อไม้มียางใส
ใบ ใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ เรียงสลับ ใบย่อยเรียงตรงข้าม ใบย่อยมี 7-9 ใบ ใบย่อยที่ปลายมีขนาดใหญ่กว่าใบย่อยอื่นๆ ใบย่อย 5-11 ใบ ยาว 5-7 เซนติเมตร กว้าง 2.5-3.5 เซนติเมตร เรียงแบบตรงข้าม รูปไข่แกมใบหอก ฐานใบมนถึงเฉียง ปลายใบแหลมถึงแหลมเป็นหาง ขอบใบเรียบ ฐานใบมนเบี้ยว ผิวใบทั้งสองด้านมีขนนุ่ม ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ก่อนออกดอกใบจะร่วงทั้งต้น
ดอก ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกจะห้อยลงจากกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม กลีบดอก มี 4-5 กลีบ แยกกัน รูปขอบขนาน สีเหลืองอมเขียว ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้ใหญ่กว่าดอกเพศเมีย เกสรเพศผู้มี 8 อัน เกสรเพศเมีย มีรังไข่เหนือวงกลีบ ก้านช่อดอก ยาว 9-14 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ แยกจากกัน รูปไข่ สีเหลืองอมเขียว ออกดอกราวเดือนมกราคม ถึงมีนาคม
ผล ผลสดรูปไข่หรือกลมรี กว้างประมาณ 0.7 เซนติเมตร ยาว 1-1.5 เซนติเมตร มีเมล็ดเดียวแข็งมาก ผลสุกสีแดง พบขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าละเมาะ และป่าหญ้าทั่วไป



การขยายพันธุ์ของกุ๊ก
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่กุ๊กต้องการ
ประโยชน์ของกุ๊ก
ใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผัก ผลเป็นอาหารสัตว์
สรรพคุณทางยาของกุ๊ก
- ใบ ผสมใบไพล ใบหวด หม่อน บดเป็นผง กินกับน้ำ เช้า-เย็นแก้ไอเป็นเลือด
- เปลือกต้น ช่วยสมานแผล
- รากหรือเปลือกต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ท้องเสีย ยางที่ปูดจากลำต้น ผสมยางที่ปูดจากลำต้นมะกอก ฝนน้ำดื่ม แก้ไอเป็นเลือด
- เปลือกต้น ใส่แก้ปวดฟัน แก่น มีรสหวานชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ
- เปลือกต้นและแก่น เป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อและปวดท้อง
- ผล รสฝาดเปรี้ยว แก้ไอ ขับเสมหะ

คุณค่าทางโภชนาการของกุ๊ก
การแปรรูปของกุ๊ก
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11519&SystemType=BEDO
www.flickr.com