หญ้าผมยุ่ง
ชื่ออื่นๆ : กระชับ, มะขะขัดน้ำ (ภาคเหนือ), หญ้าผมยุ่ง (เชียงใหม่) ขี้อัน,เกี๋ยงน้ำ (ภาคเหนือ-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ขี้อันน้ำ (นครพนม), ขี้อันดอน (ขอนแก่น,เลย), ขี้ครอก (ราชบุรี)
ต้นกำเนิด : อเมริกาเหนือ
ชื่อสามัญ : ผักกระชับ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xanthium strumarium Linn.
ชื่อวงศ์ : Compositae
ลักษณะของหญ้าผมยุ่ง
ต้น เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นตั้งตรงเป็นริ้ว กิ่งก้านมีขนขึ้นประปราย
ใบ ใบมีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ใบจักเว้าเป็น 3-5 แฉก ริมขอบใบหยิกเป็นซี่ฟันปลา เนื้อใบบาง พื้นผิวหลังและใต้ท้องใบหยาบสาก
ดอก เรียงแบบช่อกระจะบนแกนเดียว มีเพศเดียว ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้ออกที่ปลายกิ่ง มีลักษณะค่อนข้างกลม ขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว ดอกเพศเมียจะออกบริเวณง่ามใบ มีริ้วประดับเป็นรูปรี
ผล รูปไข่หรือรูปรี มีหนามรูปตะขอและขนละเอียด ปลายผลเป็นจะงอยแหลม 2 อันไม่มีก้าน

การขยายพันธุ์ของหญ้าผมยุ่ง
ใช้เมล็ด
ก่อนเพาะให้นำเมล็ดไปแช่น้ำนานประมาณ 3 เดือน ในขั้นตอนการเพาะจะขุดดินเป็นร่องลึกประมาณ 25 เซนติเมตร กว้าง 1 เมตร ความยาวตามต้องการ แล้วโรยทรายหรือแกลบลงในท้องร่อง จากนั้นก็หว่านเมล็ดที่แช่แล้วลง แล้วโรยทรายปิดบางๆ และปิดท้องร่องด้วยทางมะพร้าวให้ได้รับแสงร่ำไร ใช้เวลานาน 7-15 วัน เมล็ดจะงอก
ธาตุอาหารหลักที่หญ้าผมยุ่งต้องการ
ประโยชน์ของหญ้าผมยุ่ง
เป็นผักพื้นบ้านของจังหวัดระยอง ต้นอ่อนใส่ในแกงส้ม กินกับน้ำพริก หรือผัดน้ำมันหอย
สรรพคุณทางยาของหญ้าผมยุ่ง
- ต้น รสเย็นเฝื่อน แก้ไข้จับสั่น ขับเหงื่อ ขับน้ำลาย ระงับประสาท แก้ไขข้ออักเสบ แก้ปวด
ประจำเดือน แก้มุดเกิด แก้โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ แก้กระเพาะอักเสบ แก้ปวด
กล้ามเนื้อรักษารโรคหิด แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้หวัด แก้ปวดศรีษะ ปวดหู ตำพอก
แผลแก้ปวดบวม ต้มเอาน้ำล้างอผล ฆาเชื้อโรคบาดแผล - ใบ รสเย็นเฝื่อน แก้โรคเกี่ยวกับต่อมน้ำเหลือง เริม งูสวัด พอกแก้ปวดบวม แก้พิษแมลงกัด
ต่อย สมานแผล ห้ามเลือด ดับพิษร้อน แก้ไข้ ขับปัสสาวะ - ราก รสขมเย็น เจริญอาหาร แก้วัณโรคต่อมน้ำเหลือง และ มะเร็ง สมานแผล ห้ามเลือด ดิบ
พิษร้อน แก้ไข้ ขับปัสสาวะ - ผล รสเย็นเฝื่อน แก้ไข้ทรพิษ บำรุงกำลัง แก้ริดสีดวงจมูก ระงับการเกร็งของกล้ามเนื้อ แก้
ปวดในโรคไจจ้ออักเสบ แก้อัมพาต แก้ลมพิษ แก้โรคท้องมาน ขับเหงื่อ แก้ร้อนใน
เมล็ด รสเฝือน แก้โรคเรื้อน

คุณค่าทางโภชนาการของหญ้าผมยุ่ง
การแปรรูปของหญ้าผมยุ่ง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11449&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com