พิกุล
ชื่ออื่นๆ : มะเมา, แก้ว, พิกุลป่า, พิกุลเขา, พิกุลเถื่อน, กุน, ซางดง
ต้นกำเนิด : อินเดีย พม่า
ชื่อสามัญ : Bullet wood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mimusops elengi Linn.
ชื่อวงศ์ : SAPOTACEAE
ลักษณะของพิกุล
ต้น เป็นไม้ต้นขนาดกลางสูง 5-15 เมตร ไม้ผลัดใบ ยอดเป็นพุ่มหนาทึบ เปลือกสีน้ำตาลอมเทา มีรอยแตกตามยาวของลำต้น
ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปหอกแคบๆ โคนใบแหลม ปลายใบมนหรือแหลม ใบเกลี้ยงขอบใบเรียบเป็นคลื่น
ดอก ออกดอกเดี่ยว ดอกออกเป็นกระจุกใหญ่ตามปลายกิ่ง หรือตามง่ามใบ แต่อยู่รวมกันเป็นกระจุก มี 24 กลีบ เรียงซ้อนกันเป็น 2 ชั้น ชั้นใน 16 กลีบ ชั้นนอก 8 กลีบ สีขาวมีกลิ่นหอม แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาลเมื่อโรย ออกดอกเกือบตลอดทั้งปี
ผล ผลกลมรีหัวท้ายแหลม ผลสุกมีสีเหลือง สีส้มหรือสีแดง มี 1-2 เมล็ด เมล็ดแบนรีสีดำมัน


การขยายพันธุ์ของพิกุล
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่พิกุลต้องการ
ประโยชน์ของพิกุล
- นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
- ไม้ ทำเสา พื้น ฝา โครงเรือเดินทะเล ทำเกวียน คันธนู ไม้เท้า ด้ามร่ม หมอนรองรางรถไฟ
- ผล เป็นอาหารของนกได้
- คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นพิกุลทองไว้ประจำบ้านจะทำให้มีอายุยืน เพราะโบราณเชื่อว่าต้นพิกุลทองเป็นไม้ที่มีความแข็งแรงทนทานและมีอายุยาวนาน ดังนั้นจึงนิยมใช้เนื้อไม้นำมาใช้ประโยชน์ในงานพิธีมงคลได้เป็นอย่างดี เช่นด้ามหอกที่ใช้เป็นอาวุธ เสาบ้าน พวงมาลัยเรือ และยังมีความเชื่ออีกว่าต้นพิกุลทองเป็นต้นไม้ที่มีความขลังและศักดิ์สิทธิ์ เพราะโบราณเชื่อว่าเป็นไม้ที่มีเทพเจ้าสิงสถิตอยู่
ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นพิกุลทองทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผู้ปลูกควรปลูกในวันจันทร์หรือวันเสาร์ เพราะคนโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ ถ้าจะให้เป็นสิริมงคลแก่ตัวเองผู้ปลูกควรเป็นสุภาพสตรี เพราะพิกุลเป็นชื่อที่เหมาะสำหรับสุภาพ - พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดลพบุรี ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 9 พฤษภาคม 2537

สรรพคุณทางยาของพิกุล
ส่วนที่ใช้ : ดอก เปลือก เมล็ด แก่นที่ราก ใบ
- ดอกสด – เข้ายาหอม ทำเครื่องสำอาง แก้ท้องเสีย
- ดอกแห้ง – เป็นยาบำรุงหัวใจ ปวดหัว เจ็บคอ ขับเสมหะ
- ผลสุก – รับประทานแก้ปวดศีรษะและแก้โรคในลำคอและปาก
- เปลือก – ยาอมกลั้วคอ ล้างปาก แก้เหงือกบวม รำมะนาด
- เมล็ด – ตำแล้วใส่ทวารเด็ก แก้โรคท้องผูก
- ใบ – ฆ่าพยาธิ
- แก่นที่ราก – เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต ขับลม
- กระพี้ – แก้เกลื้อน
คุณค่าทางโภชนาการของพิกุล
การแปรรูปของพิกุล
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11234&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
ดอกมีกลิ่นหอม