เงาะเจ๊ะโมง
ชื่ออื่นๆ : เงาะเจ๊ะมง, เงาะเจ๊ะบง, เงาะบ้าน (ภาคใต้) เมาะแตเจ๊ะมง (มลายูท้องถิ่น-ยะลา)
ต้นกำเนิด : พบขึ้นตามป่าดิบชื้นทางสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ภาคใต้ ที่ระดับความสูง 50-200 เมตร
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nephelium sp.
ชื่อวงศ์ : SAPINDACEAE
ลักษณะของเงาะเจ๊ะโมง
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงใหญ่ สูง 12-18 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทรงสูงถึง ค่อนข้างกลม เปลือกไม้ เรียบสีน้ำตาลเทา
ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงแบบ เวียนสลับ มีใบย่อย 2-4 คู่ ใบย่อยรูปรี ผิวใบเกลี้ยง ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่า ขอบใบเรียบ ปลายใบป้านหรือมน โคนใบแหลม ใบกว้าง 4-7 เซนติเมตร ยาว 9-12 เซนติเมตร เส้นใบแตกแบบขนนก เส้นกลางใบเห็นชัดเจน
ดอก ออกเป็นช่อแยกแขนง ขนาดเล็ก ออกตามง่ามใบใกล้ยอดและปลายกิ่ง สีขาวถึง เหลืองอ่อน
ผล ผลเดี่ยวมีลักษณะกลมรูไข่ สีแดงเข้ม ผิวเปลือกหนา มีขนสีแดงเข้มปกคลุม เนื้อในสีขาวติดกับเมล็ด ขนาดใหญ่ เนื้อกรอบ รสชาติหวานผสมเปรี้ยว ช่วงการออกดอกและออกผล กุมภาพันธ์-กันยายน


การขยายพันธุ์ของเงาะเจ๊ะโมง
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่เงาะเจ๊ะโมงต้องการ
ประโยชน์ของเงาะเจ๊ะโมง
เป็นเงาะท้องถิ่นของสามจังหวัดชายแดนใต้ เนื้อกรอบ รสเปรี้ยวอมหวาน
สรรพคุณทางยาของเงาะเจ๊ะโมง
คุณค่าทางโภชนาการของเงาะเจ๊ะโมง
การแปรรูปของเงาะเจ๊ะโมง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11191&SystemType=BEDO
http://srdi.yru.ac.th
https://www.flickr.com