กระต่ายจามใหญ่
ชื่ออื่นๆ : กรดน้ำ, กระต่ายจามใหญ่, กัญชาป่า, มะไฟเดือนห้า (กรุงเทพฯ) ขัดมอนเทศ (ตรัง) ขันมอนเล็ก, หนวดแมว (กลาง) ข้างไลดุ (แม่ฮ่องสอน) ตานซาน (ปัตตานี) เทียนนา (ชลบุรี) ปีกแมงวัน (กาญจนบุรี) หญ้าหัวแมงฮุน (เหนือ) หญ้าพ่ำสามวัน (กระเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) หูปลาช่อนตังผู้ (ตราด)
ต้นกำเนิด : เขตร้อนทางทวีปอเมริกา
ชื่อสามัญ : Sweet Broomweed, Macao Tea
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scoparia dulcis L.
ชื่อวงศ์ : SCROPHULARIACEAE
ลักษณะของกระต่ายจามใหญ่
ต้น : พืชล้มลุกขนาดเล็ก อายุปีเดียว สูง 30-50 ซม. ลำต้นเป็นเหลี่ยม
ใบ : ใบเป็นใบเดี่ยว ออกรอบกิ่งเป็นวง วงละ 3 ใบ รูปไข่กลับถึงแกมขอบขนาน กว้าง 0.5-1.5 ซม. ยาว 1-3 ซม. โคนใบและปลายใบแหลมหรือมน ขอบใบจักฟันเลื่อยหรือฟันปลา ก้านใบสั้นไม่เด่นชัด
ดอก : ดอกสีขาวหรือแกมสีม่วงอ่อน เป็นดอกเดี่ยวออกตากซอกใบ ขนาดดอกบาน 8-10 มม. กลีบดอก 4 กลีบ ปลายกลีบแหลม บริเวณโคนกลีบด้านในมีขนสีขาวละเอียด ก้านดอกยาว 4-8 มม. เกสรผู้ 4 อัน ตั้งบนฐานกลีบดอก เกสรเมียตอนปลายยอดเป็นปุ่มใหญ่
ผล : ผลรูปทรงกลม ขนาด 3 มม. ผิวเรียบ เกลี้ยง มีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อนจำนวนมาก

การขยายพันธุ์ของกระต่ายจามใหญ่
การเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่กระต่ายจามใหญ่ต้องการ
ประโยชน์ของกระต่ายจามใหญ่
ยอดอ่อน ใบอ่อน รับประทานเป็นผักสดร่วมกับลาบ

สรรพคุณทางยาของกระต่ายจามใหญ่
- ราก ต้มดื่มแก้นิ่ว และขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน ต้มดื่มแก้ไข้ แก้ไอ
- ใบ ต้มดื่มแก้ไข้ หรือใส่แผลห้ามเลือด ผสมยาอื่นต้มดื่มแก้ไข้หนาวสั่น หรือเข้ายาห่มยอด กินสด แก้ไอ แก้หอบ
- ใบ ประคบแผล
- ใบ ขับระดู แก้ไอ ลดไข้ บำรุงธาตุ แก้ปวดฟัน หลอดลมอักเสบ
- ทั้งต้น ต้มดื่มแก้ปัสสาวะบ่อย แก้ไอ แก้อาการตัวร้อนในเด็ก
- ผล ใช้เป็นยาขับพยาธิไส้เดือน
ลำต้นสด นำมาต้มประมาณ 15 กรัม กรองเอาน้ำ ให้เด็กดื่มเวลามีใข้จะช่วยลดไข้ หัด ลำไส้อักเสบ ปวดท้อง ปัสสาวะขัดหรือ นำมาตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำทาแก้ผื่นคัน

คุณค่าทางโภชนาการของกระต่ายจามใหญ่
การแปรรูปของกระต่ายจามใหญ่
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11094&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com