ชมพูพันทิพย์
ชื่ออื่นๆ : ชมพูอินเดีย, ธรรมบูชา, ตาเบบูย่าพันธุ์ทิพย์, แตรชมพู
ต้นกำเนิด : ทวีปอเมริกาใต้
ชื่อสามัญ : Pink Trumpet shrub, Pink Trumpet Tree, Pink Tecoma
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tabebuia rosea (Bertol.) DC.
ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE
ลักษณะของชมพูพันทิพย์
ใบ เป็นแบบผสม มีใบย่อย 5 ใบ แผ่ออกคล้ายใบปาล์ม ปลายใบแหลม ยาวประมาณ 12 เซนติเมตร กิ่งก้านสาขาแผ่ออกเป็นพุ่มค่อนข้างแน่น เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกลมแผ่กว้างเป็นชั้น

ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่งก้าน ช่อละ 5-8 ดอก ดอกย่อยลักษณะคล้ายดอกผักบุ้งหรือปากแตร คือโคนดอกเป็นหลอดยาวปลายดอกบานออกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกมีทั้งสีชมพูอ่อน ชมพูสด และสีขาว ตรงกลางดอกสีเหลือง กลีบดอกบาง ย่นเป็นจีบ และร่วงหล่นง่าย ดอกย่อยแต่ละดอกกว้างราว 8 เซนติเมตร ยาวราว 15 เซนติเมตร โดยทิ้งใบในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม และออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน

ผล ผลแห้งแตก เป็นฝักกลม ยาว 15-30 เซนติเมตร เมื่อแก่ตแกเป็น 2 ซีก เมล็ดแบน สีน้ำตาล มีปีก

การขยายพันธุ์ของชมพูพันทิพย์
ใช้เมล็ด, ตอนกิ่งหรือปักชำ
ธาตุอาหารหลักที่ชมพูพันทิพย์ต้องการ
ชอบดินที่ระบายน้ำและระบายอากาศได้ดีเป็นพิเศษ ควรปลูกบริเวณที่มีแสงแดดเต็มวัน
ประโยชน์ของชมพูพันทิพย์
- นิยมนำไปปลูกเป็นไม้ประดับ และให้ร่มเงาในบริเวณสถานที่ราชการ สวนสาธารณะ และตามถนนหนทาง แต่กิ่งเปราะไม่เหมาะปลูกใกล้สนามเด็กเล่น และดอกร่วงมาก
- ลำต้น ใช้ทำฟืน และเยื่อใช้ทำกระดาษได้
สรรพคุณทางยาของชมพูพันทิพย์
ใบ ต้มแก้เจ็บท้องหรือท้องเสีย ตำให้ละเอียดใส่แผล
คุณค่าทางโภชนาการของชมพูพันทิพย์
การแปรรูปของชมพูพันทิพย์
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10968&SystemType=BEDO
www.flickr.com