ข่อย
ข่อย (Streblus asper Lour.) เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Moraceae ซึ่งข่อยถูกบรรจุอยู่ในตำราอายุรเวทของประเทศอินเดีย พฤกษเคมีหรือสารเคมีที่สำคัญในข่อยประกอบไปด้วยสารประเภทไกลโคไซด์(glycosides) และสารประกอบฟีนอล (polyphenolic compounds) โดยสารประกอบทางเคมีเหล่านี้มีรายงานว่าสามารถแสดงฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ต่อภาวะโรคต่างๆ ได้ ซึ่งมีหลายการศึกษาพบว่าข่อยมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่หลากหลาย อาทิเช่นฤทธิ์ต่อหัวใจฤทธิ์ต้านจุลชีพ ฤทธิ์ต้านโปรโตซัวฤทธิ์ป้องกันตับ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านมะเร็งฤทธิ์ต้านเบาหวานฤทธิ์ต้านความจำบกพร่องและฤทธิ์ต้านพาร์กินสันเป็นต้นดังนั้น
ข่อย จึงเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่น่าสนใจในการศึกษาประโยชน์และอาจพัฒนาต่อไปเพื่อใช้ในการป้องกันหรือรักษาภาวะโรคต่างๆ ในปัจจุบัน บทความนี้จึงเป็นการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พฤกษเคมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและความเป็นพิษของข่อย เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยต่อไปในอนาคต

พฤกษเคมี (Phytochemistry)
ข่อย เป็นพืชที่อุดมไปด้วยสารประเภทไกลโคไซด์ (glycosides) ได้แก่asperoside, strebloside, kamloside, indroside, cannodimemoside, strophalloside, strophanolloside, 16-O-acetylglucogitomethoside, glucogitodimethoside, glucokamloside, sarmethoside แ ล ะ gluco-strebloside[3]นอกจากนี้ ใบข่อยยังประกอบไปด้วยสารtriterpenoid saponin[4]และ polyphenolic compounds ได้แก่ gallic acid, isoquercetin, quercetin, rutin, catechin และ tannic acid เป็นต้น
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา(Pharmacological properties)
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของข่อยมีการศึกษาทั้งในหลอดทดลอง (in vitro) และในสิ่งมีชีวิต (in vivo)โดยมีรายงานว่าข่อยมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลากหลาย ได้แก่ฤทธิ์ต่อหัวใจฤทธิ์ต้านจุลชีพ ฤทธิ์ต้านโปรโตซัวฤทธิ์ป้องกันตับ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านมะเร็งฤทธิ์ต้านเบาหวานฤทธิ์ต้านความจำบกพร่องและฤทธิ์ต้านพาร์กินสัน เป็นต้นซึ่งรายละเอียดจะกล่าวดังต่อไปนี้
ฤทธิ์ต่อหัวใจ (Cardiotonic activity)
สารประเภท cardiac glycosides สามารถสกัดได้จากรากข่อย ได้แก่ cardenolide และasperoside ซึ่งมีฤทธิ์ต่อหัวใจ และมีการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดเอทานอลจากเปลือกราก (root bark) ของข่อย พบว่า สารสกัดข่อยมีฤทธิ์ในการกระตุ้นหัวใจแบบ inotropic effect ในหัวใจกบ (isolated frog heart) และพบฤทธิ์การหดเกร็งกล้ามเนื้อ(spasmodic effect) ในกล้ามเนื้อเรียบของล าไส้กระต่าย (isolated rabbit intestine) และในมดลูกของหนูตะเภา (guinea pig uterus) นอกจากนี้ยังมีการศึกษาทางเภสัชวิทยาที่ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าข่อยมีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ
ฤทธิ์ต้านจุลชีพ (Antimicrobial activity)
มีหลายการศึกษาที่รายงานว่าสารสกัดข่อยมีฤทธิ์ในการต้านจุลชีพ ซึ่งฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (bactericidal activity) สามารถพบได้ในสารสกัดใบข่อยที่สกัดด้วย 50% เอทานอล สารสกัดนี้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ Streptococcus โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อเชื้อ S.mutans ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของฟันผุ แต่สารสกัดนี้ไม่แสดงฤทธิ์ในการต้านเชื้อ Escherichia coli, Staphylococcus aureus, Pseudomonas aeruginosa, Staphylococcus coagulase, Serratia marcescens, Klebsiella pneumoniae, Enterobacter, Burkholderia pseudomallei และ Candida albicans เป็นต้น
ฤทธิ์ต้านโปรโตซัว(Antiprotozoal activity)
การศึกษาฤทธิ์ต้านมาลาเรียของสารสกัดจากเปลือกต้นข่อยโดยการฉีดเข้าทางช่องท้องหนู พบว่า สารสกัดข่อยสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้มีการต่อต้านเชื้อ Plasmodium berghei ในหนูได้นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสารสกัดจากเปลือกต้นข่อยมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อพยาธิฟิลาเรีย โดยมีฤทธิ์ macrofilaricidal activity ต่อเชื้อ Litomosoides carinii และ Brugia malayi ในหนูได้แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาใน in vitro ของสารสกัดใบข่อยที่สกัดด้วยน้ำที่ความเข้มข้น 5, 50, 500 และ 1000 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร พบว่าไม่มีฤทธิ์ antitrypanosomal activity

ฤทธิ์ต้านไวรัสตับอักเสบชนิดบี(Anti-hepatitis B virus activit)
การศึกษาฤทธิ์ของสารกลุ่มลิกแนน (lignans) ที่สกัดได้จากเปลือกต้นและราก ได้แก่ (7’R,8’S,7′′R,8′′S)-erythro-Strebluslignanol G, 9-β-xylopyranosyl-isolariciresinolและ magnololของข่อย พบว่า สารดังกล่าวสามารถยับยั้งการจำลองดีเอ็นเอ (DNA replication) ของเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (HBV)ใน HBV transfected HepG2.2.15 cell lineได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ฤทธิ์ป้องกันตับ (Hepatoprotective activity)
การศึกษาฤทธิ์ต่อการป้องกันตับของสารสกัดข่อย พบว่า กลุ่มที่ได้รับสารสกัดใบข่อยจากการสกัดด้วยเมทานอลสามารถลดระดับสารชีวเคมีในเลือด (Serum biochemical parameters) ได้แก่transaminases, phosphatase และtotal bilirubin ให้อยู่ในช่วงปกติได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับคาร์บอนเตตระคลอไรด์(toxin control groups)
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory activity)
การศึกษาฤทธิ์ต้านอักเสบของสารสกัดใบข่อยด้วยเอทานอลที่ความเข้มข้น 125, 250 และ 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สามารถยับยั้งการบวมของอุ้งเท้าหนูพันธุ์ Sprague Dawley ได้โดยขึ้นกับขนาดยาอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังสามารถยับยั้งเอ็นไซม์cyclooxygenase (COX)-2 และinducible nitric oxide synthase (iNOS)ในRAW 264.7 cells(macrophage cell line) ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยสาร lipopolysaccharides(LPS) อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามสารสกัดข่อยไม่มีผลต่อการยับยั้ง COX-1[20
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant activity)
การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระใน in vitroโดยใช้วิธี DPPH (1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl) assay พบว่า สารสกัดใบข่อยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยมีคุณสมบัติเป็นตัวจับสารอนุมูลอิสระ (radical scavenging activity) และพบว่าสารสกัดจากใบข่อยในความเข้มข้น 200, 600 และ1000 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรสามารถลดการเกิดอนุมูลอิสระภายในเซลล์ (intracellular reactive oxygen species; ROS) ในเซลล์เพาะเลี้ยงชนิด SK-N-SH human neuroblastoma cells ที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีการสร้างอนุมูลอิสระด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) ได้อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ
การศึกษาใน in vivo ที่เหนี่ยวน าให้เกิดอนุมูลอิสระด้วยคาร์บอนเตตระคลอไรด์ (CCl4) ซึ่งคาร์บอนเตตระคลอไรด์ทำให้ระดับreduced glutathione (GSH) และcatalase (CAT) ในตับลดลงอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดข่อยขนาด 250และ500มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สามารถเพิ่มระดับ GSH และ CAT ในตับได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้มีการศึกษา พบว่า สารสกัดจากเปลือกข่อย ขนาด 200 และ 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สามารถเพิ่มการท างานของเอ็นไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเกิดอนุมูลอิสระได้แก่ GSH, CAT, SOD (Superoxide dismutase) และสามารถลดการเกิดออกซิเดชั่นของไขมัน lipid peroxidationในเนื้องอกที่ตับและไตของหนูพันธุ์ Swiss albino ได้
ฤทธิ์ต้านมะเร็ง (Anticancer activity)
การศึกษาฤทธิ์ต้านมะเร็ง พบว่า น้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากใบข่อยแสดงฤทธิ์ในการต้านมะเร็งได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ (cytotoxicity) ในเซลล์ P388 (mouselymphocytic leukemia)[6
การศึกษาฤทธิ์ต้านมะเร็งของสาร strebloside และmansoninซึ่งแยกได้จากสารสกัดเมทานอลและไดคลอโรมีเทนจากเปลือกข่อยเพื่อทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งพบว่า สารทั้งสองชนิดแสดงฤทธิ์ในการต้านมะเร็งในเซลล์เพาะเลี้ยงชนิด KB ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า สาร (+)-streblosideที่สกัดได้จากเปลือกข่อยสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งรังไข่ชนิดร้ายแรงได้ ผลการศึกษายังพบอีกว่าสารนี้สามารถยับยั้งระยะ G2 ในวงจรเซลล์ และสามารถเหนี่ยวให้เกิดการตายแบบ apoptosis ของเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งผ่านกลไกที่ (+)-Streblosideสามารถควบคุมการแสดงออกของ p53 ผ่านทางการกระตุ้น ERK pathway และยับยั้ง NF-κBใน human ovarian cancer cells[24]การศึกษาที่มีการเหนี่ยวน าให้เกิดมะเร็งในช่องท้องหนูพบว่า สาร (+)-Streblosideขนาด 5-30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ในหนู NCr nu/nu miceได้
การศึกษาสารสกัดจากเปลือกข่อยในขนาด 200 และ 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ยังพบว่าสามารถลดขนาดและน้ าหนักของก้อนมะเร็งชนิด Ehrlich ascites carcinoma[26]และDalton’s ascitic lymphoma[22]ในหนูพันธุ์ Swiss albinoได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ฤทธิ์ต้านเบาหวาน (Anti-diabeticactivity)
การศึกษาฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดข่อยในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดเบาหวานโดยสาร streptozotocin พบว่า alpha-amyrinacetate ที่สกัดจากเปลือกต้นข่อยแสดงฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด (glucose lowering effect)ในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวาน ส่วนสารสกัดจากเปลือกต้นข่อยที่สกัดด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์ (petroleum ether) สามารถท าให้ระดับน้ำตาลอยู่ในช่วงปกติ (normalized blood-glucose levels) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับ streptozotocinเดี่ยวๆ
ฤทธิ์ต้านความจ าบกพร่อง(Anti-cognitive impairmentactivity)
มีรายงานว่าข่อยมีคุณสมบัติในการยับยั้งเอ็นไซม์ acetylcholinesterase(AChE)[28]เนื่องจากเอ็นไซม์ AChE ทำหน้าที่ในการทำลายสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และความจำ นั่นคือ acetylcholine (ACh) ดังนั้นหากข่อยมีคุณสมบัติในการยับยั้งเอ็นไซม์ดังกล่าวก็อาจจะส่งผลดีต่อความจำได้ โดยเฉพาะโรคอัลไซเมอร์การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดข่อยต่อความจำ พบว่า สารสกัดใบข่อยสามารถต้านการเรียนรู้และความจำบกพร่องในหนูที่ถูกเหนี่ยวน าด้วยสาร scopolamine ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสารสกัดใบข่อยสามารถลดการท างานของเอ็นไซม์ AChEในสมองหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีอาการคล้ายโรคอัลไซเมอร์ได้
ฤทธิ์ต้านโรคพาร์กินสัน(Anti-Parkinson activity)
การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดข่อยต่อโรคพาร์กินสันในสัตว์ทดลอง พบว่า สารสกัดใบข่อยสามารถต้านอาการที่มีความบกพร่องของการเคลื่อนไหว (motor dysfunctions) ในหนูพันธุ์ C57BL/6 ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการคล้ายโรคพาร์กินสันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับสาร MPTP (1-methyl-4-phenyl-1,2,3,6-tetrahydropyridine) ซึ่ง MPTP เป็นสารพิษที่เหนี่ยวนำให้เกิดอาการคล้ายโรคพาร์กินสัน
ความเป็นพิษ (Toxicity)
การศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดข่อยด้วยเมทานอลและปิโตรเลียมอีเทอร์โดยประเมินจากความเข้มข้นที่ทำให้กุ้งทะเลตายร้อยละ 50 (LC50) ใน brine shrimps model พบว่าสารสกัดข่อยจากเมทานอลมีความเป็นพิษอย่างอ่อน (weakly toxic)ส่วนสารสกัดข่อยจากปิโตรเลียมอีเทอร์ไม่มีความเป็นพิษ (non toxic)นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาความเป็นพิษฉับพลัน (acute toxicity) และพิษกึ่งเรื้อรัง (sub-chronic toxicity) ของสารสกัดข่อยในหนูพันธุ์ Swiss albino โดยมีการประเมิน biochemical และ histo-pathological parameters ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดข่อยจากทั้งเมทานอลและปิโตรเลียมอีเทอร์ไม่มีความเป็นพิษ
สรุปได้ว่า ข่อย เป็นพืชสมุนไพรที่ประกอบไปด้วยสารประกอบเคมีหลายชนิดอาทิเช่น สารประเภทไกลโคไซด์ (glycosides) สารประกอบฟีนอล (polyphenolic compounds) และน้ำมันหอมระเหย (essential oils) ที่สามารถแสดงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่หลากหลาย ซึ่งในแต่ละส่วนของข่อย ได้แก่ ราก เปลือกต้น หรือใบ ประกอบไปด้วยสารส าคัญในปริมาณที่แตกต่างกันออกไป ปัจจุบันมีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของข่อยทั้งในหลอดทดลอง เซลล์เพาะเลี้ยง และสัตว์ทดลอง แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาฤทธิ์ของข่อยในทางคลินิกยังมีไม่มากนักและจากฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของข่อยที่กล่าวมาข้างต้นโดยเฉพาะฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านการอักเสบ ซึ่งมีรายงานว่าทั้งการเกิดอนุมูลอิสระและการอักเสบนี้สัมพันธ์กับการเกิดพยาธิสภาพของโรคต่างๆ มากมาย ดังนั้นจึงเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งในการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับข่อยเพื่อเป็นประโยชน์ในการป้องกันหรือรักษาโรคต่างๆ ต่อไป
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://ccpe.pharmacycouncil.org
ภาพประกอบ : https://www.flickr.com