กระดูกค่าง
ชื่ออื่นๆ : คำดีควาย ดูกค่าง หม้าย ไหม้ (ภาคใต้), จะเพลิง สล่าง สะลาง (ชลบุรี), ตะโกดำ ตาโกดำ (ตราด), พลับเขา (สุราษฎร์ธานี), กระดูกค่าง
ต้นกำเนิด : ประเทศไทยพบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และมีมากทางภาคใต้
ชื่อสามัญ : พลับเขา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros undulata Wall. ex G. Don var cratericalyx (Craib) Bakh
ชื่อวงศ์ : EBENACEAE
ลักษณะของกระดูกค่าง
ต้น ไม้ต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 20 ม. เปลือกสีดำค่อนข้างเรียบ
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก ปลายทู่ หรือหยักคอดเป็นติ่งแหลม โคนสอบมน แผ่นใบหนา หรือค่อนข้างหนา ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น
ดอก ดอกเพศผู้ออกรวมกันเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบ กลีบเลี้ยง และกลีบดอกมีอย่างละ 4-5 กลีบ กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นรูปถ้วยปากกว้าง กลีบดอกโคนติดกันเป็นหลอด เกสรเพศผู้ 12-18 อัน รังไข่ไม่สมบูรณ์มีขนประปราย ดอกเพศเมียออกเป็นดอกเดี่ยว ๆ ลักษณะคล้ายกับดอกเพศผู้แต่ขนาดใหญ่กว่า ทั้งกลีบเลี้ยง และกลีบดอกมีอย่างละ 4-5 กลีบ เกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์ 4-8 อัน
ผล ผลกลม ฐานมน ปลายมนหรือป้าน ผลติดอยู่บนกลีบเลี้ยง รูปถ้วย กลีบเลี้ยงเมื่อยังอ่อนมีขนคล้ายเส้นไหมทั้งด้านนอก และด้านใน ขนด้านในจะติดอยู่จนกระทั้งผลแก่ ปลายกลีบเลี้ยงโค้งออก พื้นกลีบไม่จีบ และไม่มีเส้นลายกลีบ


การขยายพันธุ์ของกระดูกค่าง
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่กระดูกค่างต้องการ
ประโยชน์ของกระดูกค่าง
เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างทั่วไป และทำเครื่องตกแต่ง
สรรพคุณทางยาของกระดูกค่าง
คุณค่าทางโภชนาการของกระดูกค่าง
การแปรรูปของกระดูกค่าง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10802&SystemType=BEDO
http://qsbg.org