หญ้าหนูตัน
ชื่ออื่นๆ : โก่กำแล่น (ชัยภูมิ) หางไก่เถื่อน (อุบลราชธานี); มะพร้าวป่า ศรีคันไชย (เชียงใหม่) ; หญ้าหนู (ปน) หอมแดง (กลาง) ลำพัน (จันทบุรี) ศรีคันไชย (เชียงใหม่) ว่านเคียงปืน
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : หญ้าหนูตัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dianella ensifolia (L.) DC.
ชื่อวงศ์ : LILIACEAE
ลักษณะของหญ้าหนูตัน
ต้น ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน สูง 30-60 เซนติเมตร ขึ้นเป็นกอขนาดเล็ก
ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ แตกเป็นกระจุกที่โคนต้น อยู่ในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานหรือรูปหอก กว้าง 1-4 เซนติเมตร ยาว 20-60 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ฐานใบมน ขอบใบเรียบ ก้านใบแผ่เป็นแผ่นหุ้มซ้อนกัน
ดอก ดอกช่อ ออกจากซอกใบที่โคนต้น กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีลักษณะเหมือนกัน มีสีขาวปนม่วง เป็นหลอดเล็กๆ ปลายแยกเป็นกลีบ 6 กลีบ เกสรเพศผู้มี 6 อัน สีเหลือง
ผล ผลสดรูปทรงกลม เมื่อสุกมีสีม่วงน้ำเงิน พบทั่วไปตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง ออกดอกราวเดือนตุลาคมถึงธันวาคม

การขยายพันธุ์ของหญ้าหนูตัน
ใช้เมล็ด/การเพาะเมล็ด และ เหง้า
ธาตุอาหารหลักที่หญ้าหนูตันต้องการ
ประโยชน์ของหญ้าหนูตัน
สรรพคุณทางยาของหญ้าหนูตัน
- ทั้งต้น ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม รักษามะเร็ง(อาการแผลเรื้อรัง เน่าลุกลามรักษายาก)
- ราก ปรุงเป็นยารักษาความดันสูง ต้มน้ำดื่มรักษาโรคริดสีดวงลำไส้ บำรุงกำหนัด ขับปัสสาวะ
- รากและใบ เข้ายากับแส้ม้าฮ้อ บีปลากั้ง และซิ่นบ่ฮี ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย บำรุงกำลังทางเพศ
หมายเหตุ : หมอแผนไทย ในเขตหาดใหญ่-คลองหอยโข่ง (สงขลา) จะใช้หญ้าหนูต้น เป็นส่วนผสมอย่างหนึ่งของยาหม้อรักษาเหน็บชา อัมพาต ด้วย

คุณค่าทางโภชนาการของหญ้าหนูตัน
การแปรรูปของหญ้าหนูตัน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10745&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com