บักสัง
ชื่ออื่นๆ : มะสัง หรือ หมากกะสัง
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : มะสัง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Feroniella lucida (Scheff.) Swingle
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ลักษณะของบักสัง
ไม้ยืนต้นสูง 4-8 เมตร แผ่ก้านจำนวนมาก ลำต้นและกิ่งก้าน มีหนามแข็งยาว1-3 เซนติเมตร ใบประกอบแบบขนนกออกสลับใบย่อย 3-11 ใบรูปไข่กลับกว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 1-2 เซนติเมตรปลายมนโคนสอบ ดอกสีเหลืองกลิ่นหอมออกเป็นช่อตามซอกใบกลีบดอก 5 กลีบรูปไข่แกมขอบขนานเมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตรเกสรตัวผู้จำนวนมากผลค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 4-12 เซนติเมตร เปลือกหนากลิ่นหอม

การขยายพันธุ์ของบักสัง
ใช้กิ่ง/ลำต้น/ชำกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่บักสังต้องการ
ประโยชน์ของบักสัง
นำผลมาทานมีรสเปรี้ยว เนื้อมะสังตากแห้งใช้ปรุงรสอาหารแบบเดียวกับมะขามเปียก ใส่ในน้ำพริก ลาบ ก้อย ยำ ส้มตำแทนมะนาว ผลอ่อนและยอดอ่อนมีรสเปรี้ยว ทางภาคใต้นิยมนำผลอ่อนมาแกงส้มกับปลาหมอ นิยมทำไปทำเป็นไม้ดัด เพื่อใช้ในการประดับตกแต่ง
สรรพคุณทางยาของบักสัง
แก่นต้มรวมกับแก่นมะขาม ใช้ดื่มขณะอยู่ไฟ ตำรายาไทยใช้รากต้มน้ำดื่มแก้ไข้ ใบรสฝาดมัน ใช้แก้ท้องเดิน ผลมีรสเปรี้ยว ใช้แทนมะนาวได้
คุณค่าทางโภชนาการของบักสัง
การแปรรูปของบักสัง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10601&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com