กะเม็ง
ชื่ออื่นๆ : กะเม็งตัวเมีย, คัดเม็ง (ภาคกลาง) บังกีเช้า (จีน) หญ้าสับ, ฮ่อมเกี่ยว (ภาคเหนือ)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : กะเม็ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eclipta prostrata (L.) L.
ชื่อวงศ์ : ASTERACEAE
ลักษณะของกะเม็ง
ต้น ไม้ล้มลุกลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 30-50 ซม. ลำต้นกลม มีขนแข็งสากมือปกคลุม สูง 10-60 ซม.
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก โคนเรียวแหลม ขอบเรียบหรือจักห่างๆ 2-3 จักช่วงปลายใบ
ดอก ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกเป็นช่อเดี่ยวที่ยอด หรือ 1-3 ช่อตามง่ามใบ ดอกวงนอกรูปลิ้น เป็นดอกเพศเมีย มี 3-5 ดอก กลีบดอกสีขาว ดอกวงในกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 4 กลีบ สีขาว เป็นดอกสมบูรณ์เพศ
ผล ผลแก่แห้งสีดำ ไม่แตก

การขยายพันธุ์ของกะเม็ง
ใช้เมล็ด/นำเมล็ดมาว่านได้เลย
ธาตุอาหารหลักที่กะเม็งต้องการ
ประโยชน์ของกะเม็ง
ทั้งต้นผสมกับลูกมะเกลือดิบโขลกใช้ย้อมผ้าให้ดำ
สรรพคุณทางยาของกะเม็ง
- ต้นกะเม็ง ใช้เป็นยาบำรุงเลือด
- ใบและราก ใช้เป็นยาถ่ายและทำให้อาเจียน
- รากใช้เป็นยาขับลม
- ในอินเดียใช้น้ำคั้นจากต้นสดมาสักเพื่อให้รอยสัก เป็นสีเขียวคราม ใช้ย้อมผมให้ดำ
- ใบใช้โขลกพอกแผลสดห้ามเลือด
- ในอินโดนีเซียใช้น้ำคั้นจากลำต้น ทาแก้ขี้กลาก
คุณค่าทางโภชนาการของกะเม็ง
การแปรรูปของกะเม็ง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10560&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com