ตองแตก
ชื่ออื่นๆ : ตองแต่ (ประจวบคีรีขันธ์) ถ่อนดี ทนดี (ภาคกลาง, ตรัง) โทะโคละ พอบอเจ๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) นองป้อง ลองปอม (เลย)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baliospermum montanum (Willd.) Mull. Arg.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ลักษณะของตองแตก
ต้น ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2 เมตร แตกแขนงจากโคนต้น ก้านใบเรียวยาว ยาว 2-6 ซม. ยอดอ่อนมีขน
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบรูปหอก รูปไข่ หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-10 เซนติเมตร ยาว 8-12 เซนติเมตร ใบบริเวณโคนต้นมักมีขอบหยักเว้าเป็น 3-5 แฉก ปลายแฉกมน หรือแหลม ใบมีขนแข็งเอนทั้งสองด้าน ฐานใบมน ขอบใบจักฟันเลื่อย หรือหยักมน
ดอก เป็นดอกย่อยแยกเพศ ดอกตัวผู้มีจำนวนมากอยู่ตอนบนของช่อ ไม่มีกลีบดอก กลีบเลี้ยงสีเหลืองแกมเขียว 4-5 กลีบ ดอกตัวเมียออกที่โคนช่อ ไม่มีกลีบดอก
ผล ผลค่อนข้างกลม ผลแก่แตกตามยาวที่กลางพู แต่ละพูมี 1 เมล็ด เมล็ด รูปขอบขนาน

การขยายพันธุ์ของตองแตก
การใช้เมล็ดและการปักชํา
ธาตุอาหารหลักที่ตองแตกต้องการ
ประโยชน์ของตองแตก
สรรพคุณทางยาของตองแตก
- เปลือกต้น รสเฝื่อน ใช้เป็นยาถ่าย
- ใบ รสเฝื่อน แช่น้ำรับประทานแก้หืด ใบแห้งต้มน้ำดื่มเป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ฟกบวม
- ผล รสขมฝาด ทาฟันทำให้ฟันมีสีดำ แก้ปวดฟัน
- ราก รสเฝื่อนร้อนขม เป็นยาถ่ายอย่างอ่อน ใช้ต้มรับประทานถ่ายลม ถ่ายเสมหะเป็นพิษ ถ่ายพิษพรรดึก ไม่ไซ้ท้อง ใช้ในรายที่ถ่ายด้วยยาดำไม่ได้ โรคริดสีดวงทวาร ถ่ายพยาธิ แก้ฟกบวม แก้บวมน้ำ แก้ดีซ่าน แก้ม้ามอักเสบ แก้โลหิตจาง แก้ตับอักเสบ
- เมล็ด รสเบื่อขม ใช้เป็นยาถ่ายอย่างแรง (ไม่นิยมใช้) เป็นยาถ่ายแทนสลอดได้ ถ่ายพยาธิ ตำทาถูนวด แก้ปวดตามข้อ แก้ฟกบวม

วิธีใช้และปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบ 2-4 ใบ หรือ ราก 1 หยิบมือ ยาไทยนิยมใช้ราก 1 หยิบมือ ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อยรับประทาน
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา : ยับยั้งเนื้องอก ลดความดันโลหิต ลดความอ้วน ลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
ส่วนที่เป็นพิษ เมล็ด ทำให้ท้องเดินอย่างแรง

คุณค่าทางโภชนาการของตองแตก
การแปรรูปของหญ้าข้าวนก
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10554&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com