ก่อตาหมู
ชื่ออื่นๆ : ก่อหิน (จันทบุรี) ก่อกินลูก (ตรัง) ก่อเหิบ (นครพนม) ก่อใหญ่ ก่อใบเลื่อม ก่อตาหมู ก่อหมาก
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : ก่อหิน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Castanopsis pirifoormis
ชื่อวงศ์ : FAGACEAE
ลักษณะของก่อตาหมู
ต้น ไม้ยืนต้นสูง 6-30 เมตร
ใบ ใบรูปรีถึงรูปขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม ยาว 8-16 ซม. โคนใบสอบ ปลายเรียวแหลมหรือแหลมทู่ ขอบใบเรียบ แผ่นใบช่อหนา ผิวใบเกลี้ยง ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่า เส้นแขนงใบข้างละ 8-11 เส้น ก้านใบยาว 1-1.5 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยง ก้านงอเล็กน้อยและบวมบริเวณโคนก้าน
ดอก ช่อพอกแยกเพศ ดอกเพศเมียอยู่ทางด้านโคนช่อ ดอกสีเหลืองอ่อน

การขยายพันธุ์ของก่อตาหมู
เมล็ดหว่านลงแปลง แช่น้ำ 3- 4 วันก่อน งอก ประมาณ 1 เดือน
ธาตุอาหารหลักที่ก่อตาหมูต้องการ
ประโยชน์ของก่อตาหมู
- ผลแก่ รับประทานได้ โดยนำเมล็ดมาต้ม หรือคั่วให้สุก มีแป้งอยู่มาก
- เนื้อไม้ก่อสร้างเผาถ่าน
- เปลือก มีน้ำฝาด ใช้ในการฟอกหนัง หรือย้อมแหอวน
สรรพคุณทางยาของก่อตาหมู
ตำรายาไทย ราก ต้มน้ำดื่ม แก้ปัสสาวะขัด
คุณค่าทางโภชนาการของก่อตาหมู
การแปรรูปของก่อตาหมู
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10264&SystemType=BEDO
www.flickr.com