ต้นปรง
ชื่ออื่นๆ : กา, กาเดาะ, กูดหลวา, แข่ดู่, ทอคลิ, บอกะ, มะพร้าวเต่าดอย , มะพร้าวเต่าหลวง, มุ่งม่าง
ต้นกำเนิด : ตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา มาจนถึงเอเชีย ออสเตรเลีย และตามหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
ชื่อสามัญ : Cycas tree หรือ Cycas palm
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cycas circinalis L
ชื่อวงศ์ : Cycadaceae
ลักษณะของต้นปรง
ต้น เป็นต้นไม้เปลือกสีน้ำตาล ลำต้นสั้น สูง 1.5-2 ม. มีรอยแผลใบที่ลำต้น มีเหง้ากึ่งใต้ดิน แผ่ออก
ใบ ใบยาว 0.6-1.2 ม. ใบย่อยที่โคนส่วนมากลดรูปเป็นหนาม ก้านใบสั้นมีหนามน้อยหรือมากเกือบตลอดก้าน โคนเพศผู้รูปขอบขนาน ยาว 10-24 ซม. ใบสร้างอัปเมกาสปอร์ยาว 6-11 ซม. แผ่นใบขอบจักซี่หวีลึก มี 22-46 ซี่ ปลายเป็นหนามยาว 2.3-4.5 ซม. เมล็ดเกือบกลม ยาว 3-3.7 ซม.
ดอก ดอกเพศผู้และเพศเมียแยกต้นกันอยู่ ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อที่ปลายยอด มีสปอร์จำนวนมากเรียงรอบแกนกลาง ดอกเพศเมียออกเป็นกาบระหว่างใบ มีไข่อ่อนติดทั้ง 2 ข้าง ข้างละ 2-4 หน่วย
เมล็ด เมล็ดกลมเมื่อแก่จัดสีแดงอมส้ม

การขยายพันธุ์ของต้นปรง
การการแยกหน่อ, การเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ต้นปรงต้องการ
ประโยชน์ของต้นปรง
- ไม้ประดับ
- สามารถนำเมล็ดมาทำเป็นขนมได้
- ยอดและเมล็ดมีพิษแต่สามารถนำมาทำอาหารได้โดยก่อนนำมาล้างน้ำ ให้นำไปหมักหรือต้มเพื่อกำจัดสารพิษ
- เมล็ดปรงนำมาสกัดน้ำมันสำหรับเป็นส่วนประกอบของยาสมุนไพร
- นิยมนำแกนอ่อนของปรงมาประกอบอาหาร ทั้งแกง ผัด และต้ม เพราะแกนลำต้นมีเนื้ออ่อน กรอบ และมีรสหวานเล็กน้อย
สรรพคุณทางยาของต้นปรง
คุณค่าทางโภชนาการของต้นปรง
การแปรรูปของต้นปรง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10213&SystemType=BEDO
www.flickr.com