อาศัย
ชื่ออื่นๆ : ไม้ฆ้อนตีหมา, หูกะทิง, หูทิง
ต้นกำเนิด : พบทางภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป ต่างประเทศพบที่เวียตนาม (ภาคใต้) มาเลเซีย และสุมาตรา ขึ้นในป่าดิบชื้นตามเนินเขา จนถึงระดับสูงประมาณ 200 เมตร
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ixonanthes icosandra Jack
ชื่อวงศ์ : IXONANTHACEAE
ลักษณะของอาศัย
ต้น ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง โคนต้นเป็นพูพอนเล็กน้อย

ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรีแกมรูปไข่กลับ ขอบใบจักมน มีต่อมตามรอยจัก ก้านใบสั้นมาก

ดอก ดอกเล็ก สีเหลืองอมเขียว ออกบนช่อจากซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาวเรียว ส่วนบนแตกแขนงสั้นๆ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกติดทนอยู่กับผล เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านเกสรยาวเรียว ติดทน
ผล ผลรูปกรวย เมื่อแห้งแตกเป็น 5 ซีก ออกดอกและผลระหว่างเดือน เมษายน – มิถุนายน

การขยายพันธุ์ของอาศัย
การใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่อาศัยต้องการ
ประโยชน์ของอาศัย
ต้นอาศัย จัดเป็นพืชหายาก
สรรพคุณของอาศัย
คุณค่าทางโภชนาการของอาศัย
การแปรรูปอาศัย
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rspg.or.th
ภาพประกอบ : ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
อาศัย ผลเป็นรูปกระสวย เป็นพืชหายาก