ลักษณะประจำวงศ์
วงศ์มะลิ OLEACEAE ลักษณะวงศ์เป็นไม้พุ่ม ไม้เถา หรือไม้ต้น ใบเดี่ยว มีน้อยที่ใบประกอบรูปขนนกออกตรงข้ามกัน เป็นคู่ บางครั้งเรียงเป็นวงรอบกิ่ง ช่อดอก แบบกระจุก กระจะ แยกแขนง หรือดอก ออกเดี่ยวตามง่ามใบ เหนือง่ามใบ และ ปลายกิ่งดอกส่วนใหญ่สมบูรณ์เพศกลีบเลี้ยง ส่วนใหญ่ 4-6 กลีบ บางครั้งมากกว่าโคนกลีบ เชื่อมติดกัน กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย รูประฆัง หรือเป็นหลอด ปลายแยก 4-6 กลีบ หรือเท่าจำนวนของกลีบเลี้ยงเกสรเพศผู้ 2 อัน ก้านชูอับเรณูมักเชื่อมกับหลอด กลีบดอก รังไข่ 1 อัน อยู่เหนือฐานดอก มี 2 พูแต่ละพูมี 1 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 2 หน่วย ผลส่วนใหญ่เป็นชนิดผลสด มีน้อย ที่ผลแห้งแตกหรือมีปีก มี 1-4 เมล็ด
ลักษณะเด่นของวงศ์
วงศ์ของพืชชนิดนี้เป็นใบเดี่ยวหรือใบประกอบแบบขนนกหรือมีสามใบ ออกตรงข้าม กลีบเลี้ยงและกลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน กลีบเลี้ยงปลายแยกเป็น 4 กลีบ กลีบดอกปลายแยกเป็น 4 กลีบ หรือ 6-12 กลีบ เกสรเพศผู้มี 2 อัน ติดบนกลีบดอก รังไข่มี 2 ช่อง แต่ละช่องมี 2 ออวุล
วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง
- Apocynaceae เกสรเพศผู้มี 5 อัน รังไข่มี 1 ช่อง ออวุลจำนวนมาก
- Gentianaceae รังไข่มี 1 ช่อง ออวุลจำนวนมาก พลาซานตาตามแนวตะเข็บ
การกระจายพันธุ์
พบทั่วไปในเขตร้อน ประเทศไทยมี 8 สกุล เช่น
- สกุล Jasminum เป็นไม้เถา มีกลิ่นหอม ได้แก่ มะลิวัลย์ Jasminum adenophyllum Wall. ex C.B. Clarke มะลิลา Jasminum sambac (L.) Aiton ใช้ร้อยมาลัย
- สกุล Schrebera ได้แก่ มะกอกโคกหรือมะกอกดอน Schrebera swietenoides Roxb. พบในป่าผลัดใบ
- สกุล Fraxinus เป็นไม้ต้น เช่น จันทร์ทอง Fraxinus floribunda Wall. ex Roxb.

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.waa.inter.nstda.or.th, www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com
วงศ์มะลิ พืชวงศ์นี้ได้แก่ มะลิ มะลิไส้ไก่ มะลิปูน กระดูกไก่ใบเล็ก