ลักษณะประจำวงศ์
วงศ์ช้าส้าน ACTINIDIACEAE ลักษณะวงศ์เป็นไม้ต้น ไม้พุ่ม หรือไม้เถา ยอดอ่อนมักมีขนและเกล็ดคล้ายรังแค ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ ช่อดอกแบบกระจุกกระจะ บางครั้งแยกแขนง มีน้อยที่ดอกออกเดี่ยวออกตามง่ามใบปลายกิ่ง บางครั้งออกตามกิ่งที่ไร้ใบและลำต้น ดอกสมบูรณ์เพศหรือแยกเพศกลีบเลี้ยงและกลีบดอก อย่างละ 5 กลีบ โคนกลีบดอกมักเชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้ตั้งแต่10 อันขึ้นไป รังไข่อยู่เหนือ ฐานดอก มักมีตั้งแต่ 5 ช่องขึ้นไป มีน้อยที่มี 2-3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อนจำนวนมาก ผลส่วนใหญ่เป็นชนิดผลสด มีน้อยที่แห้งแตก มีหลายเมล็ด
การกระจายพันธุ์
วงศ์ช้าส้าน วงศ์พืชสกุลนี้ทั่วโลกพบประมาณ 300 ชนิด ในเมืองไทยพบ 6 ชนิด สำหรับชนิดนี้พบขึ้นตามริมลำห้วยหรือพื้นที่ที่ชุ่มชื้นของป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 700 เมตร ขึ้นไป ทั่วทุกภาค พบมากทางภาคเหนือ

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.waa.inter.nstda.or.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com
วงศ์ช้าส้าน พืชในวงศ์นี้ ได้แก่ ช้าส้าน ช้าสามแก้ว ส้านเห็บ เป็นต้น