มะลิลา
ชื่ออื่นๆ : มะลิลา Malila (กรุงเทพ) สับปะรดเทศ
ต้นกำเนิด : อเมริกากลาง ภาคเหนือตอนใต้และทางตอนเหนือของอเมริกาใต้
ชื่อสามัญ : Ammerican aloe, Centuryplant
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Agave americana L.
ชื่อวงศ์ : AGAVACEAE
ลักษณะของมะลิลา
ต้น ไม้ล้มลุก ลำต้นสั้น พืชทนแล้ง อายุหลายปี
ใบ ใบเดี่ยว มี 30-40 ใบหรือมากกว่า เรียงเวียนเป็นกอที่ระดับพื้นดิน รูปใบหอกกลับแคบ ขนาดใหญ่ ยาว 1-2 เมตร กว้าง 15-20เซนติเมตร ปลายใบแหลมกึ่งเรียวแหลม ที่ปลายสุดมีหนามแหลมและหนามเล็กๆ ตามขอบใบ แผ่นใบโค้งพับลงเหมือนหักงอ ผิวใบสีเขียวแกมน้ำเงิน เรียบเกลี้ยงแต่มีนวลขาว เนื้อใบหยาบแข็ง มีเส้นใยจำนวนมาก

ดอก ช่อดอกออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกโดด ทั้งช่อสูง 6-12 เมตร แตกกิ่งสาขาที่ช่วงบน มีใบประดับอยู่ตามแกนของช่อ 50-60 ใบ จำนวนดอกหนาแน่น ดอกมีวงกลีบรวมสีเหลืองอมเขียว ยาว 3.5-4.5 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 6 แฉก เกสรเพศผู้ 6 อัน ยื่นยาวโผล่พ้นกลีบรวม ออกดอกเพียงครั้งเดียว หลังจากออกดอกแล้วต้นก็จะตายไป

ผล ผลแบบผลแห้งรูปขอบขนาน ขนาดประมาณ 5 เซนติเมตร แตกกลางพูออกเป็น 3 ซีก เมล็ดจำนวนมาก สีดำ บางและแบน เมล็ด ผิวเกลี้ยงเป็นมัน
การขยายพันธุ์ของมะลิลา
การใช้เหง้า, การแยกหน่อ, การเพาะเมล็ด
ขึ้นตามที่อยู่อาศัยเก่า พื้นทราย ริมฝั่งน้ำ และริมทาง นอกจากนี้ยังเติบโต ในทะเลทราย ป่าโปร่ง และทุ่งหญ้า ที่ระดับความสูง 500–1 300 ม. มันทนแล้ง และชอบแดดจัดและซอยระบายน้ำดี
ธาตุอาหารหลักที่มะลิลาต้องการ
ประโยชน์ของมะลิลา
- ปลูกเป็นไม้ประดับ
- ใบมีเส้นใยมาก สามารถนำไปผลิตเชือกป่านได้
สรรพคุณของมะลิลา
น้ำจากใบ ใช้เป็นยาฆ่าแมลง
คุณค่าทางโภชนาการของมะลิลา
การแปรรูปมะลิลา
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.botany.sc.chula.ac.th, www.qsbg.org
ภาพประกอบ : www.flickr.com
มะลิลา พืชทนแล้ง ใบแหลม มีหลามแหลม