ต้นอ้อย
ชื่ออื่นๆ : อ้อยขม, อ้อยดำ, อ้อยแดง
ต้นกำเนิด : เกาะนิวกีนี ในมหาสุมทรแปซิฟิก ในประเทศไทยปลูกได้ทั่วไป
ชื่อสามัญ : Sugar cane, Sugarcane, Black sugar cane
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Saccharum officinarum L.
ชื่อวงศ์ : POACEAE หรือ GRAMINEAE
ลักษณะของต้นอ้อย
ต้น ไม้ล้มลุก สูง 2-5 เมตร ลำต้นสีม่วงแดง มีไขสีขาวปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้าน
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหอกแคบ กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 0.5-1 เมตร ขอบใบจักถี่เป็นหนามคม โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้น
ดอก ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด สีขาว
ผล ผลเป็นผลแห้ง ขนาดเล็ก เมล็ด แหลม รอบโคนมีปุยสีขาว

การขยายพันธุ์ของต้นอ้อย
ใช้กิ่ง/ลำต้น
ธาตุอาหารหลักที่ต้นอ้อยต้องการ
ประโยชน์ของต้นอ้อย
- น้ำอ้อย นำไปผลิตเป็นน้ำตาลทราย
- กากอ้อย ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิต ทำ Particle Board เพื่อนำไปทำเฟอร์นิเจอร์ เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า
- กากน้ำตาล ใช้ผลิต สุรา เบียร์ ซีอิ้ว แอลกอฮอล์
- ปัจจุบันกำลังจะมีการนำอ้อยมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน คือ เอทานอล
- นอกจากนี้ ยังสามารถนำผลพลอยได้ไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆอีกมาก ทั้งในด้านเครื่องสำอาง และยา
สรรพคุณทางยาของต้นอ้อย
- ต้น ใช้รักษาปัสวะพิการ รักษาขัดเบา แก้อาหารช้ำ รักษาโรคนิ่ว อาหารไอต้น แก้ไข้ แก้คอแห้ง กระหายน้ำ รักษาอาการโรคไซนัส เป็นยาบำรุงหัวใจ รักษาอาหารสัมประชวร รักษาไข้จับใน
- ชานอ้อย นำมาเผาให้เป็นเถ้า แล้วบดเป็นผง รักษาฝีอักเสบและแผลใต้ผิวหนังเรื้อรัง
- อ้อย มีน้ำตาลซูโครสสูงมาก มีธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัสเล็กน้อย และมีสารอื่นๆ ให้เป็นยา น้ำเชื่อม ที่มีความเข้มข้น สามารถให้เป็นสารกันบูดและฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้
คุณค่าทางโภชนาการของต้นอ้อย
การแปรรูปของต้นอ้อย
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10060&SystemType=BEDO
www.qsbg.org
www.flickr.com
2 Comments