น้อยหน่าเครือ
ชื่ออื่นๆ : น้อยหน่าเครือ
ต้นกำเนิด : พบในพื้นที่สูงทางภาคเหนือ ที่มีอากาศหนาวเย็น บริเวณป่าธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ใกล้แหล่งน้ำ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,000 – 1,200 เมตร
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kadsura spp.
ชื่อวงศ์ : Schisandraceae
ลักษณะของน้อยหน่าเครือ
ต้นน้อยหน่าเครือ พืชป่าที่มีผลคล้ายน้อยหน่าเป็นไม้เถาเลื้อย เถามีสีน้ำตาลเข้ม เลื้อยพันกับต้นไม้ใหญ่ ถากดูเนื้อไม้ข้างในมีสีชมพูอมแดง
ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปรีหรือค่อนข้างรูปไข่ เนื้อใบหนาคล้ายหนังหรือบางคล้ายกระดาษโคนใบรูปลิ่มหรือรูปลิ่มกว้าง ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบเรียวแหลม หรือหรือแหลมสั้นๆ
ดอก เป็นดอกแยกเพศ บนต้นเดียวกัน ออกที่ซอกใบ มีก้านดอก กลีบดอกสีขาว แต้มสีชมพูที่ปลายกลีบ
ผล คล้ายน้อยหน่า มีสีผลหลากหลาย เช่น สีแดง สีเขียว และสีเขียวครีม ผลมีคาร์เพลแยก ใน 1 คาร์เพล มีเมล็ด 1 – 2 เมล็ด รูปร่างเมล็ดค่อนข้างกลม

การขยายพันธุ์ของน้อยหน่าเครือ
- การเพาะเมล็ด นำเมล็ดน้อยหน่าเครือที่แก่สมบูรณ์ ไปแช่ตู้เย็นไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ จากนั้นนำมาเพาะโดยใช้ขุยมะพร้าวเป็นวัสดุเพาะ รดน้ำให้ชุ่ม จากนั้นคลุมพลาสติกไว้ ประมาณ 2 เดือน ต้นกล้าจะเริ่มงอกขึ้นมา
- การตอนกิ่ง คัดเลือกเถาน้อยหน่าเครือที่กึ่งอ่อนกึ่งแก่ (เถาจะมีสีน้ำตาลปนเขียว) จากนั้นทำการตอนเหมือนไม้อื่นๆ ตามปกติ ทิ้งไว้ประมาณ 5 – 6 เดือน จะเริ่มเห็นรากแตกออกมา
การให้ผลผลิต
- กลุ่มที่ 1 ผลสุกสีแดง ผลย่อยสีแดง ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน ให้ผลผลิตเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์
- กลุ่มที่ 2 ผลสุกสีเขียวครีม ผลย่อยสีแดงและขาว ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม ให้ผลผลิตเดือนกันยายน – ตุลาคม
- กลุ่มที่ 3 ผลสุกสีเขียวครีม ผลย่อยสีชมพูและขาว ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม ให้ผลผลิตเดือนกันยายน – ตุลาคม
- กลุ่มที่ 4 ผลสุกสีเขียว ผลย่อยสีขาว ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม ให้ผลผลิตเดือนกันยายน – ตุลาคม
ธาตุอาหารหลักที่น้อยหน่าเครือต้องการ
ประโยชน์ของน้อยหน่าเครือ
ผลสุก นิยมนำมารับประทานสด มีรสชาติเปรี้ยว อมหวาน ผลน้อยหน่าเครืออุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารต่างๆ เช่น วิตามินซี คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร และ แคลเซียม เป็นต้น ภายในผลน้อยหน่าเครือยังมีสารต้านอนุมูลอิสระโพลีฟีนอล และแอนโทไซยานินมีส่วนช่วยควบคุมการทำงานต่างๆ ในร่างกายให้เป็นปกติ เช่น สุขภาพสมอง รักษาสมดุลในร่างกาย ช่วยชะลอความเสื่อมของระบบประสาท หลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ และหลอดเลือด

สรรพคุณทางยาของน้อยหน่าเครือ
- เถา นำมาต้มหรือแช่น้ำอาบช่วยรักษาโรคอัมพฤกษ์อัมพาต
- ส่วนประเทศจีนนำ เถาและราก มาใช้เป็นสมุนไพร รักษาโรคทางเดินอาหารและไขข้ออักเสบ
- นอกจากนี้ยังมีรายงานวิจัยว่าสารสกัดจากเมล็ดน้อยหน่าเครือ มีประสิทธิภาพในการต้านเนื้องอก ต้านเชื้อ HIV และ ไวรัสตับอักเสบ (Liu, & Li, 1995 ; Gao et al., 2008)

คุณค่าทางโภชนาการของน้อยหน่าเครือ
การแปรรูปของน้อยหน่าเครือ
สามารถนำมาแปรรูปเป็นน้ำผลไม้ แยม และไวน์ได้
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9979&SystemType=BEDO
https://www.hrdi.or.th