แสงจันทร์
ชื่ออื่นๆ : บานดึก, ดอกพระจันทร์, แสงนวลจันทร์
ต้นกำเนิด : อเมริกาเขตร้อน
ชื่อสามัญ : Cabbage Tree, Gatae, Lettuce tree, moonlight tree, Pisonia, Puatea, Mollucean Cabbage, Nachukottaikeerai, Chinai-Salit
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pisonia grandis R. Br.
ชื่อวงศ์ : NYCTAGINACEAE
ลักษณะของแสงจันทร์
ต้น : ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 5 – 12 ม. ขนาดทรงพุ่ม 3 – 4 ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มกลมหรือรูปไข่ แน่นทึบ เปลือกต้นสีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างเรียบและอวบน้ำ
ใบ : ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับรอบกิ่ง ใบรูปไข่แกมรูปรีหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมนถึงแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบบางสีเหลืองอมเขียวอ่อน
ดอก : ออกเป็นช่อกระจะที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกเล็กสีขาว แต่มักไม่พบ

การขยายพันธุ์ของแสงจันทร์
การปักชำ, การตอนกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่แสงจันทร์ต้องการ
ประโยชน์ของแสงจันทร์
- เป็นไม้ประดับที่ปลูกได้ดีในพื้นที่ร่มรำไร – กลางแจ้ง
- ยอดอ่อน ใบอ่อน ใช้ประกอบอาหาร เช่น ผัด หรือรองห่อหมก ต้มทานเหมือนกับผักโขม
ต้นแสงจันทร์ เปรียบเหมือนเป็นพลังงานด้านบวก ที่คอยขจัดปัดเป่าสิ่งไม่ดีสิ่งชั่วร้ายออกจากบ้านของผู้อยู่อาศัย ผู้คนในบ้านก็จะอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข สิ่งเร้นลับใดๆ ที่มุ่งร้ายก็จะผ่านพ้นไป การปลูกต้นแสงจันทร์ สามารถช่วยในเรื่องของความมงคล ความโชคดี การเสริมบารมี โชคลาภ และช่วยส่งเสริมสิ่งดีๆให้กับผู้อยู่อาศัย

สรรพคุณทางยาของแสงจันทร์
ใบ รสจืดคล้ายผักกาดหอม มีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ หรือตำพอกแก้แผลอักเสบ
คุณค่าทางโภชนาการของแสงจันทร์
การแปรรูปของแสงจันทร์
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9921&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com