ปอเจี๋ยน
ชื่ออื่นๆ : ปอบุ้ง (เชียงใหม่) เสียวเครือ เสี้ยวเตี้ย เสี้ยวส้ม (ตะวันออกเฉียงเหนือ) แสลงพัน (ชลบุรี)
ต้นกำเนิด : พบทางภาคเหนือที่ลำปาง ภาคตะวันออกที่นครราชสีมา และภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ขึ้นตามชายป่าดิบแล้ง หรือเขาหินปูนเตี้ย
ชื่อสามัญ : Baker
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia bracteata
ชื่อวงศ์ : Leguminosae-Caesalpinoide
ลักษณะของปอเจี๋ยน
ลักษณะ : ไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีมือเกาะ ขึ้นพาดพันตามเรือนยอดของต้นไม้ไปได้ไกล เถาแก่แข็งเหนียว แบน โค้งไปมาเป็นลอนสม่ำเสมอลักษณะเป็นขั้นๆ คล้ายบันได
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปพัด ใบที่ส่วนปลายเว้าลึกลงมาค่อนใบแผ่นใบมีลักษณะเป็น 2 แฉก
ดอก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง มีขนประปราย แตกแขนงน้อย แต่ละแขนงมีดอกเล็กจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันคล้ายรูปถ้วย กลีบดอก 5 กลีบ สีเขียวอ่อนแกมเหลือง แยกกัน
ผล ฝักแบน รูปรีหรือรูปไข่แกมรี ฝักแก่สีน้ำตาลแดง ปลายมน มีติ่งแหลมสั้นๆ

การขยายพันธุ์ของปอเจี๋ยน
ใช้กิ่ง/ลำต้น
ธาตุอาหารหลักที่ปอเจี๋ยนต้องการ
ประโยชน์ของปอเจี๋ยน
- เถาต้มหรือตำกินแก้พิษทั้งปวง เผาแช่น้ำเป็นด่างดื่มขับปัสสาวะ
- ใบ ตำผสมกับดินประสิวและดินสอพองพอก แก้ปวดฝี ถอนพิษ
- ดอก สมานลำไส้ ราก แก้ร้อนในกระหายน้ำ
- เมล็ด ถ่ายพยาธิ แก้ร้อนใน ขับเหงื่อ แก้ไข้ แก้พิษฝี

สรรพคุณทางยาของปอเจี๋ยน
–
คุณค่าทางโภชนาการของปอเจี๋ยน
การแปรรูปของปอเจี๋ยน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9808&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com