สายพันธุ์ของมังคุด การขยายพันธุ์มังคุด และการปลูกมังคุด

มังคุด

มังคุด มีชื่อสามัญว่า mangosteen จัดอยู่ในวงศ์ (family) Gittiferae ซึ่งมีด้วยกัน 35 สกุล (genera) ใน 35 สกุลดังกล่าวมีเพียง สกุลเท่านั้นที่สามารถให้ผลผลิตที่รับประทานได้ สกุลที่เก่าแกที่สุดและใหญ่ที่สุดคือสกุลGarcinia ซึ่งมักจะเป็นไม้ยืนต้นที่ไม่ผลัดใบมังคุดจัดอยู่ในสกุลดังกล่าวมีชื่อชนิด (species) ว่า mangostana L. มังคุดจึงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Garcinia mangostana L. มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ แหลมมลายู ไทย พม่า ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียและอินเดีย พืชตระกูลเดียวกับมังคุดที่รู้จักกันดี ได้แก่ มะพูด (Garcinia dulcis Kurz) ใช้กินผลสดส้มแขกหรื อที่ทางภาคใต้เรียกส้มควาย (Garcinia atroviridis Griff) ชาวบ้านใช้รสเปรี้ยวของผลส้มแขกมาใช้ในแกงส้ม แกงเทโพ ต้มเนื้อ ต้มปลา ต้มส้ม ฯลฯ ชะมวงหรือที่คนใต้เรียก กะมวง ส้มมวง (Garcinia cowa Roxb) มะดัน (Garcinia schomburgkiana Pierre) ส้มแขก (Garcinia atroviridis) และ พะวา (Garcinia celebica L.)

มังคุด
มังคุดเมื่อสุกผลจะมีสีม่วง

พันธุ์มังคุด

ดอกมังคุดเป็นดอกสมบูรณ์เพศ เกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ก้านเกสรตัวผู้ไม่ได้ยาวออกมาภายนอกดอกเหมือนดอกไม้ผลทั่วๆไป แต่เกสรทั้งสองอยู่ภายในดอกเดียวกันและเกสรตัวผู้เป็นหมัน การเจริญของผลเกิดจากเนื้อเยื่อไม่ได้เกิดจากการผสมเกสร จึงไม่มีโอกาสกลายพันธุ์และเกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ นั่นคือ มังคุดมีเพียงสายพันธุ์เดียวเท่านั้น การที่คุณภาพของผลผลิตของมังคุด แตกต่างกันนั้น สาเหตุเกิดจากการดูแลรักษาและสภาพแวดล้อม

การเลือกต้นพันธุ์สำหรับทำพันธุ์

  1. ต้นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเมล็ด ที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงอายุไม่น้อยกว่า 2 ปีหรือมีความสูงมากกว่า 30 เซนติเมตร มีระบบรากสมบูรณ์ไม่ขดหรืองอ
  2. ต้นพันธุ์ที่ได้จากการเสียบยอด จำเป็นต้องมีการเพาะเมล็ดก่อนแล้วนำกิ่งมังคุดที่ได้จากต้นที่มีผลผลิตแล้วมาเสียบยอด โดยกิ่งที่ใช้ประกอบด้วย 2 แบบ คือกิ่งกระโดง และกิ่งข้างถ้าเป็นกิ่งที่ได้ จากกิ่งกระโดง ทรงพุ่มจะมีลักษณะกลมและตั้งตรง แต่ถ้าเป็นกิ่งที่ได้จากกิ่งข้าง ทรงพุ่มจะมีลักษณะ แบนราบและเลื้อยเตี้ยกว่าต้นที่เสียบจากกิ่งกระโดง
  3. ผลมังคุด
    ผลมังคุดกำลังออกผลสีเขียว

การขยายพันธุ์มังคุด

มังคุดสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธีเช่น การเพาะเมล็ด การเสียบยอด และการทาบกิ่งแต่วิธีที่ นิยมปฏิบัติกันอยู่คือ

  1. การเพาะเมล็ด เพราะสามารถทำได้สะดวกและรวดเร็ว ต้นมังคุดที่ได้จะไม่กลายพันธุ์แต่มี ข้อเสียคือ ต้องใช้เวลาประมาณ 7 ถึง 8 ปีกว่าจะให้ผลผลิต และหากมีการบำรุงรักษาเป็นอย่างดีก็อาจเร็ว ได้ผลเร็วกว่านี้ได้เล็กน้อย 
  2. การเสียบยอด เป็นการนำพันธุ์ดีจากต้นที่เคยให้ผลแล้วมาเสียบบนต้นตอมังคุด ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยให้มังคุดให้ผลผลิตได้เร็วขึ้น ใช้ระยะปลูกน้อยกว่าและลำต้นมีขนาดเล็กกว่า สามารถออกดอก ติดผลได้ที่อายุ 3-4 ปี

การเพาะเมล็ดนั้น เมล็ดมังคุดที่นำมาเพาะควรจะนำมาจากผลมังคุดที่แก่จัดและเป็นผลที่ยังสดอยู่เพราะจะงอกได้ดีกว่า เลือกเมล็ดที่มีขนาดใหญ่นำ มาล้างเนื้อและเส้นใยออกให้สะอาด แล้วรีบนำไปเพาะ แต่หากไม่สามารถเพาะได้ทันทีก็ให้ผึ่งเมล็ดที่ทำความสะอาดแล้วให้แห้ง (ผึ่งลม) เก็บเมล็ดไว้ในถุงพลาสติกและนำไปแช่ตู้เย็นไว้จะเก็บไว้ได้นานขึ้น การเพาะเมล็ดสามารถเพาะลงในถุงพลาสติกได้ โดยตรงแต่หากทำในปริมาณมากๆ ก็ควรเพาะในแปลงเพาะชำหรือกระบะเพาะชำ สำหรับวัสดุเพาะชำจะใช้ขี้เถ้าแกลบล้วนๆ โดยใช้ขี้เถ้าแกลบผสมทรายหรือดินร่วนหรือผสมทรายก็ได้ แปลงเพาะชำต้องมีวัสดุพรางแสง และรดน้ำให้วัสดุเพาะมีความชื้นอยู่เสมอ หลังจากเพาะจะใช้เวลาประมาณ 15 ถึง 20 วัน เมล็ดจึงเริ่มงอก จากนั้นก็คัดเลือกต้นกล้าที่มีความสมบูรณ์และย้ายจากแปลงเพาะไปปลูกในถุง บรรจุดินผสมปุ๋ยคอกใช้ถุงขนาด 4 ถึง 5 นิ้ว การย้ายควรทำในช่วงที่ต้นกล้ามีอายุไม่เกิน 1 เดือน เพราะ ระบบรากยังไม่แผ่กระจาย จะทำให้ต้นกล้าไม่กระทบกระเทือนมากแต่ต้องระวังลำต้นอาจจะหักได้ เพราะยังต้นอ่อนอยู่ต้องมีการพรางแสงและให้น้ำกับต้นกล้าเช่นเคย เมื่อต้นโตขึ้นก็เปลี่ยนเป็นถุงที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ในการเปลี่ยนถุงก็ต้องระมัดระวัง อย่าให้กระทบกระเทือนระบบรากเดิม และควรจะเปลี่ยนถุงบ่อยๆ สัก 5 ถึง 6 เดือนต่อครั้ง เพราะจะทำให้มังคุดมีการเจริญเติบโตดีขึ้นและไม่มีปัญหา เรื่องรากขดงอก้นถุง เมื่อมังคุดมีอายุประมาณ 2 ปี มีความสูงราว 30 ถึง 35 เซนติเมตร มียอด 1 ถึง 2 ฉัตร ก็พร้อมที่จะปลูกในแปลงได้

รากมังคุด
รากมังคุด เป็นระบบรากแก้ว รากสีขาวอมเหลือง

การปลูกและการดูแลรักษามังคุด

การปลูกมังคุดนั้นจำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นก่อน ซึ่งต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ที่เหมาะสมต่อการเริ่มต้น สร้างสวนมังคุดนั้น เกษตรกรต้องพิจารณาถึงปัจจยัต่างๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต การให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ สะดวกและเอื้ออำนวยต่อการจัดการภายในสวน ดังนั้น

  1. สภาพพื้นที่ ต้องมีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 0- 650 เมตร มีความลาดเอียง 1-3 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ควรเกิน 15 เปอร์เซ็นต์ ควรเลือกพื้นที่ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำแต่ต้องไม่มีน้ำท่วมขัง ใกล้เส้นทางคมนาคม เพื่อขนส่งผลผลิตได้สะดวกและรวดเร็ว 
  2. ลักษณะดิน มังคุดเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงมีค่าความ เป็นกรดด่างระหว่าง 5.5-6.5 ดินมีการระบายน้ำได้ดีหน้าดินควรลึกมากกว่า 50 เซนติเมตร ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 1 เมตร 
  3. สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิที่เหมาะสมสาหรับการเจริญเติบโตของมังคุด อยู่ระหว่าง 25-35 องศาเซลเซียส และควรมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี การกระจายตัวของฝนดีมีช่วงแล้ง ต่อเนื่องน้อยกว่า 3 เดือนต่อปีและมีความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์
  4. แหล่งน้ำ ต้องมีแหล่งน้ำสะอาดเพียงพอตลอดทั้งปี ไม่มีสารอินทรีย์และอนินทรีย์ที่เป็นพิษ ปนเปื้อน มีค่าความเป็นกรดด่างของน้ำระหว่าง 6.0-7.5

การเตรียมพื้นที่ปลูก

  • พื้นที่ดอน
    ให้ทำการไถพรวน เพื่อปรับพื้นที่ให้เรียบและขุดร่องระบายน้ำ หากมีปัญหาน้ำท่วมขัง หากเป็นพื้นที่ดอนที่เคยปลูกไม้ยืนต้นมาก่อน ไม่ต้องทำการไถพรวน
  • พื้นที่ลุ่ม
     – พื้นที่น้ำท่วมขังไม่มาก และท่วมเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เฉพาะช่วงฤดูฝน ให้นําดินมาเทกองตามผังปลูก ความสูงประมาณ 1.0 ถึง 1.5 เมตร แล้วปลูกมังคุดบนสันกลางของกองดิน
     – พื้นที่น้ำท่วมขังมาก ทำการยกร่องสวนให้มีขนาดสันร่องกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร ร่องน้ำวก้าง 1.5 เมตร ลึก1 เมตร มีระบบระบายน้ำเข้าและออกเป็นอย่างดี
พื้นที่ปลูกมังคุด
การเลือกพื้นที่ปลูกมังคุด

การเลือกต้นพันธุ์

มังคุดที่ปลูกในประเทศไทยมีพันธุ์เดียว จึงไม่มีปัญหาในการเลือกพันธุ์ปลูก สําหรับการเลือกต้นพันธุ์ควรเลือกต้นที่แข็งแรง มีระบบรากสมบูรณ์ไม่ขดหรืองอ ผ่านการเพาะเลี้ยงในเรือนเพาะชำไม่น้อยกว่า 2 ปี มีความสูงไม่ต่ำกว่า30 เซนติเมตร

สามารถทำได้ทั้งการขุดหลุมปลูก ซึ่งเหมาะกับพื้นที่ที่ค่อนขา้งแห้งแล้งและยังไม่มีการวาง ระบบน้ำไว้ก่อนปลูก วิธีนี้ดินที่อยู่ในหลุมจะช่วยเก็บความชื้นได้ดีขึ้น แต่หากมีฝนตกชุก น้ำขังรากเน่าและต้นจะตายได้ง่าย ส่วนการปลูกโดยไม่ต้องงขุดหลุม (ปลูกแบบนั่งแท่นหรือยกโคก) เหมาะกับพื้นดินที่ฝนตกชุก วิธีนี้ช่วยในการระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ขังโคนต้นแต่ต้องมีการวางระบบน้ำไว้ก่อนจะทำการปลูก ซึ่งต้นมังคุดจะเจริญเติบโตเร็วกว่าการขุดหลุม ทั้งนี้จุดเน้นที่สําคัญ ในการปลูกมังคุด คือควรใช้ต้นกล้าที่มีระบบรากดีไม่ขดงอในถุง แต่หากจะใช้ต้นกล้าขนาดใหญ่ก็ให้ตัดดินและรากที่ขดหรือพันตรงก้นถุงออก

ต้นมังคุด
ต้นมังคุดที่เกิดจากการเพาะด้วยเมล็ด

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.doa.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment