จิงจ้อแดง
ชื่ออื่นๆ : จิงจ้องแดง
ต้นกำเนิด : ทวีปอเมริกากลางถึงอเมริกาใต้
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomoea hederifolia L.
ชื่อวงศ์ : CONVOLVULACEAE
ลักษณะของจิงจ้อแดง
ลักษณะทั่วไป ไม้ล้มลุกพันเลื้อยปีเดียว ทุกส่วนเกลี้ยงหรือมีขนยาวห่างประปราย ลำต้นยาว 2-5 เมตร
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปทรงแบบรูปไข่ถึงรูปทรงกลม เรียบหรือเป็นเหลี่ยม หยักซี่ฟันหยาบหรือเป็นสามพูไม่ชัดเจน โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบเรียวแหลม เป็นติ่งแหลมสั้น ก้านใบยาว
ดอก เป็นรูปแตรสีแดง เกสรเพศผู้ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียยาวกว่าเกสรเพศผู้เล็กน้อย ผลกลมเกลี้ยงสีน้ำตาล เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-7 มิลลิเมตร เ ดอกช่อกระจุก ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง
ผล ผลแห้งแตก ทรงกลม เกลี้ยง ผนังกั้นติดทน โปร่งแสง ขอบสีน้ำตาล กลีบเลี้ยงติดทน กางแล้วโค้งพับลง

การขยายพันธุ์ของจิงจ้อแดง
ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่จิงจ้อแดงต้องการ
ประโยชน์ของจิงจ้อแดง
สามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับได้ ให้ดอก ที่สวยงาม
สรรพคุณทางยาของจิงจ้อแดง
ทั้งต้น แก้ปวดศีรษะ แก้ไข้มาลาเรีย ลดอาการจาม
ราก เป็นยารุ แก้พิษแมลงป่องและพิษงู เป็นยาถ่ายอ่อนๆ สำหรับคนที่ท้องผูกเป็นประจำ เป็นยาแก้ไข้ ขับปัสสาวะ แก้โรคปวดข้อ ไขข้ออักเสบ

คุณค่าทางโภชนาการของจิงจ้อแดง
การแปรรูปของจิงจ้อแดง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9582&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com