พุทรา กิ่งมีหนาม ผลมีทั้งกลมและรี รสชาติหวานและเปรี้ยวอมหวาน
ชื่ออื่นๆ : มะควัดดอย (เชียงใหม่), มะตัน, นาวงต้มต้น, หมากทิน (จำปาศักดิ์), มะตค้นหลวง, มะท้อง, มะตอง, มะตันต้น (ภาคเหนือ-พายัพ), มั่งถั่ง (กะเหรี่ยง-ฮ่องสอน), พุดซา (ทั่วไป), มะท้อง (กะเหรี่ยง-กาญจน)
ต้นกำเนิด : ประเทศจีนตอนเหนือ
ชื่อสามัญ : พุทรา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zizyphus mauritiana Lam.
ชื่อวงศ์ : RHAMNACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ : Jujube

ลักษณะของพุทรา
- ต้นพุทรา เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง
- ใบพุทรา รูปทรงไข่แกมกลมขนาดประมาณ 1 นิ้ว บริเวณลำต้นและกิ่งจะมีหนามแหลม
- ดอกพุทรา จะออกเป็นช่อเล็ก ๆ สีเหลือง มีกลิ่นเหม็น
- ผลพุทรา มีเปลือกสีเขียว รูปทรงมีทั้งที่เป็นแบบทรงกลมถึงรูปรี ปลายผลรูปร่างกลมถึงแหลม มีหลายขนาด ผลแก่จะมีสีเหลือง แก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล รสชาติมีทั้งแบบที่หวานสนิท เปรี้ยวอมหวานหรือฝาด มีเมล็ดเดียวอยู่กลางลูก ออกผลในเดือนธันวาคม
การขยายพันธุ์ของพุทรา
ใช้เมล็ด/พุทราเป็นไม้ที่มักเกิดขึ้นเองตามป่าราบโดยทั่วไป ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่พุทราต้องการ
–
ประโยชน์ของพุทรา
เปลือกต้น,ใบ รสฝาดอมเปรี้ยว แก้อาการจุกเสียด แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน ผลดิบ รสฝาด แก้ไข้ ผลสุก รสหวานฝาดเปรี้ยว ขับเสมหะ แก้ไอ เป็นยาระบาย
สรรพคุณทางยาของพุทรา
- เปลือก จะมีรสฝาด ใช้ต้มกิน รักษาอาการท้องร่วง และอาเจียน
- เมล็ด ใช้เผาไฟป่นทำเป็นยารักษาซางชักของเด็ก หรือใช้ตำสุมหัวเด็ก รักษาอาการหวัด คัดจมูกเวลาเย็น ๆ นอกจากเปลือกและเมล็ดแล้ว พุทราทั้ง 5 ยังมีรสฝาดเฝื่อน ใช้รักษาอาการบวม รักษาพยาธิ ฝีทั้งปวง อาการลงท้อง และอาการตกเลือด

คุณค่าทางโภชนาการของพุทรา
–
การแปรรูปของพุทรา
–
เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับพุทรา
References : www.bedo.or.th
รูปภาพจาก : www.aliexpress.com, tsafruit.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม
One Comment