สีฟันคนทา
ชื่ออื่นๆ : โกทา, คนทา, สีพัน, กะลันทา, จี้, จี้หนาม, มีชี, ไม้สีฟัน, สีฟัน, สีฟันคนตาย, สีฟันคนทา, สีเตาะ, หนาม
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : คนทา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Harrisonia perforata
ชื่อวงศ์ : SIMAROUBACEAE
ลักษณะของสีฟันคนทา
ต้น ไม้พุ่มรอเลื้อยสูง 3-6 เมตร ลำต้นเป็นปุ่มปม ที่ปลายมีหนามแหลมสั้น เปลือกลำต้นเรียบสีน้ำตาล ส่วนที่อ่อนมีสีแดง
ใบ ใบประกอบแบบขนนกเรียงตัวแบบสลับ มีใบย่อย 7-12 ใบ รูปใบรีหรือไข่กลับ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 2-3 ซม. ปลายใบแหลมโคนใบสอบ ขอบบริเวณโคนหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบเรียบ ใบอ่อนมีสีแดงและใบที่โคนก้านใบมีขนาดเล็กกว่าที่ปลายก้านใบ
ดอก ดอกแบบช่อกระจะออกตามซอกใบ มีกลีบดอกสีเขียวแกมน้ำเงิน 5 กลีบ แยกกัน กลีบดอกสีแดงมี 4-5 กลีบรูปขอบขนานแยกจากกัน หัวและท้ายป้าน ขนาดเส้นผ่าศูยน์กลาง 1-2 ซม.
ผล ผลกลมและฉ่ำน้ำ ผลสด มีเมล็ดเดียวแข็ง มีเมล็ด 1 เมล็ดค่อยข้างกลม


การขยายพันธุ์ของสีฟันคนทา
ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่สีฟันคนทาต้องการ
ประโยชน์ของสีฟันคนทา
- ผล ทำให้ฝันและเหงือกแข็งแรง
- รากและลำต้น แก้บิด แก้ท้องร่วง ลดความร้อนในร่างกาย กระทุ้งพิษไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ราก เข้ายาเบ็ญจโลกวิเชียร แก้ไข้

สรรพคุณทางยาของสีฟันคนทา
- ราก ดับพิษหัวไข้ แก้บวม บวมพอง แก้ไข้เหนือ แก้ไข้ แก้ไข้เพื่อเส้น แก้ไข้พิษ กระทุ้งพิษไข้ แก้บิด แก้ท้องร่วง สมานบาดแผล แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ไข้จับสั่น แก้ตาเจ็บ แก้ไข้กาฬ ไข้ตักศิลา แก้ปวดเมื่อยแก้ร้อนในกระหายน้ำ รักษาลำไส้ ขับลม ขับโลหิต
- เปลือกราก แก้บิด ป้องกันอหิวาตกโรค แก้ท้องร่วง รักษาลำไส้ แก้ไข้ต้น แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้ไข้ กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้กาฬ ไข้หัวทุกชนิด แก้ร้อนในกระหายน้ำ ฟอกโลหิตเปลือก แก้ไข้ รักษาลำไส้ แก้บิด แก้ท้องร่วง แก้ตาเจ็บสำหรับสัตว์พาหนะ
- ใบ แก้ปวด
- ดอก แก้พิษแตนต่อย
สารที่พบ Heteropeucenin, 5 –methoxy: 7-methylether; Heteropeucenin-7-methyl ether; obacunone; perforatic acid; perforatin A; perforatin B; M-sitosteral
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ยับยั้งเอนไซม์ reverse transriptase แก้แพ้ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรีย
คุณค่าทางโภชนาการของสีฟันคนทา
การแปรรูปของสีฟันคนทา
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9543&SystemType=BEDO
http://www.pharmacy.msu.ac.th
https://www.flickr.com
One Comment