นกขมิ้น
ชื่ออื่นๆ :
ต้นกำเนิด : ประเทศไทย เป็นพืชเฉพาะถิ่นของดอยสุเทพ
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aristolochia grandis Craib
ชื่อวงศ์ : ARISTOLOCHIACEAE
ลักษณะของนกขมิ้น
ไม้เถาเลื้อย มีเนื้อไม้ ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับ รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 6.5-15 ซม. ยาว 11.5-25 ซม. ขอบใบเรียบหรือหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ท้องใบมีขนนุ่ม ก้านใบยาว 3.5-9 ซม. ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ มีดอกย่อย 1-2
ดอก ดอกย่อยปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาล ลักษณะเป็นท่อโค้ง ยาว 5-7 ซม. ด้านนอกมีเส้นสีน้ำตาล ขนานไปกับตัวดอก ส่วนโคนโป่งเป็นกระเปาะ ส่วนปลายแผ่กว้าง ประมาณ 1.5 ซม. ขอบพับขึ้น ด้านนอกสีแดง ด้านในสีเหลือง เกสรผู้อยู่ในหลอด ยาว 2.5 ซม. ปลายเกสรเมีย เป็น 6 พู รูปไข่ ปลายโค้งเข้าด้านในเล็กน้อย ยาว 4.5-4.8 ซม.
ผล รูปกระสวย มี 6 สัน กว้าง 4-6 ซม. ยาว 12-18 ซม. สีเทา มีขนนุ่ม เมื่อแก่แตกออกเป็น 6 แฉก

การขยายพันธุ์ของนกขมิ้น
เพาะเมล็ดและปักชำกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่นกขมิ้นต้องการ
ดินร่วนระบายน้ำดี
ประโยชน์ของนกขมิ้น
ปลูกเป็นซุ้มไม้เลื้อย
สรรพคุณทางยาของนกขมิ้น
–
คุณค่าทางโภชนาการของนกขมิ้น
การแปรรูปของนกขมิ้น
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9526&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com