หมี่ มะหมี่
ชื่ออื่นๆ : หมี, หมูเหม็น, อีเหม็น, หมูทะลวง, หมีเหม็น, ตังสีไพร, ดอกจุ๋ม, มือเบาะ
ต้นกำเนิด : ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ
ชื่อสามัญ : หมีเหม็น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Litsea glutinosa (Lour.)C .B. Rob
ชื่อวงศ์ : LAURACEAE
ลักษณะของหมี่ มะหมี่
ต้น ไม้ยืนต้น สูง 5-15 เมตร ผลัดใบ เปลือกลำต้นสีน้ำตาล ลำต้นแก่แตกเป็นร่องตื้นตามยาว กิ่งอ่อนมีขนละเอียด
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนานหรือรูปไข่กลับ หรือค่อนข้างกลม มักออกเป็นกลุ่มหนาแน่นที่ปลายกิ่ง กว้าง 5-9 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายใบกลมหรือเรียวแหลม โคนใบสอบเป็นครีบ หรือกลม ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ด้านล่างมีขน ก้านใบยาว 1-2.5 เซนติเมตร มีขน ใบประดับ 4 ใบ มีขน เนื้อใบค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
ดอก ดอกช่อซี่ร่มออกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่คนละต้น ดอกย่อยสีเหลือง ไม่มีกลีบดอก ช่อดอกเพศผู้มีดอกย่อย 8-10 ดอก กลีบรวมลดรูปเหลือ 1-2 กลีบ หรือไม่มีเลย รูปขอบขนาน ขอบกลีบมีขน เกสรตัวผู้มี 9-20 อัน กลีบเลี้ยงรูปกลม มี 4 กลีบ อับเรณูเป็นแบบฝาเปิด ช่อดอกเพศเมียกลีบรวมลดรูปเหลือเพียงเล็กน้อย หรือไม่มี ก้านช่อดอกยาว 2-6 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ แยกกัน ออกดอกราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงตุลาคม
ผล ผลสดรูปทรงกลม ผิวมัน เรียบ ผลอ่อนสีเขียว แก่สีม่วงเข้มเกือบดำ ก้านผลมีขน มีเมล็ดเดียวแข็ง

การขยายพันธุ์ของหมี่ มะหมี่
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่หมี่ มะหมี่ต้องการ
ประโยชน์ของหมี่ มะหมี่
- ใบเป็นยาสระผมหรือย้อมผ้าให้สีเขียว
- เนื้อไม้ทำเชื้อเพลิงสร้างที่อยู่อาศัย ทำสมุนไพร
- รากใช้รักษาอาการปวดกล้ามเนื้อมีกลิ่นหอมเหมือนเห็ดปลวกเปลือกและรากฝนทารักษาฝี
- ผลสุก กินได้
- ผลสุกเป็นเหยื่อล่อปลาสูดปลาตะเพียน ปลาขาว (จากการสัมภาษณ์และการจัดประชุมสัมมนาผู้รู้ในชุมชน)
สรรพคุณทางยาของหมี่ มะหมี่
- ใบ ขยี้กับน้ำ สระผม พอกศีรษะ ฆ่าเหา ขับปัสสาวะ แก้อาการระคายเคืองของผิวหนัง ใบและเมล็ด มีรสฝาดเฝื่อน ตำพอกฝี แผลหนอง แก้ปวด
- ราก เป็นยาฝาดสมาน และบำรุงกำลัง
- เปลือกต้น เป็นยาฝาดสมาน แก้บิด ท้องเสีย แก้ปวดมดลูก แก้เจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ ฝนทาแก้พิษแมลงกัดต่อย ผื่นคันแสบร้อน บดเป็นผงผสมกับน้ำหรือน้ำนมทาแก้แผลอักเสบ
- ผลดิบ ให้น้ำมันเป็นยาถูนวดแก้ปวด
- เมล็ด ตำเป็นยาพอกฝี
- ราก แก้ปวดกล้ามเนื้อ
- ยาง มีรสฝาดร้อน ตำพอกทาแก้ฟกช้ำ แก้ช้ำบวม
- ราก รักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ ฝนทาฝี เปลือก ฝนทาแก้ฝี
คุณค่าทางโภชนาการของหมี่ มะหมี่
การแปรรูปของหมี่ มะหมี่
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9321&SystemType=BEDO
www.flickr.com