มะม่วงเขียวไข่กา
ชื่ออื่นๆ : มะม่วงเขียวไข่กา
ต้นกำเนิด : อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
ชื่อสามัญ : Mango
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mangifera indica Linn.
ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE
ลักษณะของมะม่วงเขียวไข่กา
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 10-20 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล
ใบ ใบเดี่ยว รูปรี เรียวยาว ปลายใบแหลม ใบสีเขียวเข้ม มันวาว

ดอก ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก
ผล ผลมีขนาดเล็ก กลมป้อม ปลายผลค่อนข้างแหลมเปลือกผลค่อนข้างหนาและเหนียว มีต่อมมองเห็นได้แต่ไม่ค่อยชัด เมื่อดิบผิวเปลือกสีเขียวเข้ม เนื้อสีขาว เนื้อหยาบ กรอบ มีเสี้ยนมาก ผลอ่อนรสเปรี้ยว ผลแก่จัดผิวเปลือกสีเขียว มีนวล เนื้อด้านในสีขาวปนเหลือง เมื่อสุกผิวเปลือกสีเขียวปนเหลือง สีของเนื้อเหลืองเข้มอมส้ม รสหวาน เมล็ดมีขนาดเล็ก มีเนื้อในเมล็ดเต็ม มีเสี้ยนติดกับเมล็ดมาก เมล็ดเมื่อเพาะมีต้นอ่อนขึ้นหลายต้นจากเมล็ดเดียว ออกผลช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน


การขยายพันธุ์ของมะม่วงเขียวไข่กา
การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง การทาบกิ่งและการเสียบยอด
การปลูกมะม่วงเขียวไข่กา
เตรียมหลุมปลูกขนาด 50×50 เซนติเมตร รองก้นหลุม ด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก แล้ววางต้นพันธุ์ลงกลางหลุมปลูก กลบดินให้พูนช่วงโคนต้นเล็กน้อย
ควรปลูกช่วงต้นฤดูฝน หรือประมาณเดือนพฤษภาคม ถึง กรกฎาคม เพื่อให้มะม่วงตั้งตัวได้เร็วขึ้น
การดูแลมะม่วงเขียวไข่กา
รดน้ำประจำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง และเมื่อมะม่วงตั้งตัวได้ คล่อยห่างลดน้ำ 3 – 4 วัน/ครั้ง
ประโยชน์ของมะม่วงเขียวไข่กา
- มะม่วงเขียวไข่กา เป็นมะม่วงโบราณที่หายากกว่าสายพันธุ์อื่น
- ผลดิบมีรสเปรี้ยวมาก ผลแก่จัดมีรสหวาน มัน
- ผลสุก เนื้อเหลืองอมส้ม รสชาติหวาน
- มะม่วงพันธุ์เขียวไข่กา ผลสุกรับประทานคู่กับข้าวเหนียวมูน

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.doa.go.th
ภาพประกอบ : FB ไร่อุ่นรัก, FB สวนพันพล ปราจีนบุรี
มะม่วงเขียวไข่กา ผลดิบรสเปรี้ยว ผลแก่จัดจะมีรสหวานมัน อมเปรี้ยว เมื่อสุกผลจะมีรสหวาน
มะม่วงเขียวไข่กา มะม่วงพันธุ์โบราณ หายากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ