มะม่วงปลาตะเพียน
ชื่ออื่นๆ : มะม่วงปลาตะเพียน, มะม่วงปลาตะเพียนทอง
ต้นกำเนิด : ภาคกลาง เมื่อสมัยก่อนนิยมปลูกในย่านตลิ่งชัน บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางขุนนนท์
ชื่อสามัญ : Mango
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mangifera indica Linn.
ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE
ลักษณะของมะม่วงปลาตะเพียน
ต้น ไม้ยืนต้น มีความสูงประมาณ 10-20 เมตร หรือมีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เปลือกมีสีน้ำตาลอมดำ พื้นผิวขรุขระ แตกเป็นร่อง

ใบ ใบเดี่ยวสีเขียวลักษณะคล้ายหอก ออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ตามก้านใบ ขอบใบเรียบไม่มีหยัก ฐานใบมน ปลายใบแหลม เนื้อใบหนา

ดอก เป็นดอกช่อแยกแขนง ดอกประกอบด้วยดอกไม่สมบูรณ์เพศและดอกสมบูรณ์เพศในช่อเดียวกัน กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบลี้ยงมี 5 กลีบ ดอกไม่สมบูรณ์เพศมีเกสรตัวผู้ 5 อัน เป็นหมัน 4 อัน ดอกสมบูรณ์เพศมีเกสรตัวผู้ 5 อัน มีเกสรตัวเมีย 1 อัน มีกลีบดอกสีขาวเหลือง
ผล ผลคล้ายปลาตะเพียน ผลปล่องกลางและแบนเหมือนปลาตะเพียน ผลดิบจะเปรี้ยว มีกลิ่นหอม ผลสุกเนื้อจะหวาน ผลสุกงอมมีกลิ่นหอมหวานไม่เละ ออกผลประมาณเดือนเมษายน

การขยายพันธุ์ของมะม่วงปลาตะเพียน
การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง การทาบกิ่งและการเสียบยอด
การปลูกมะม่วงปลาตะเพียน
เตรียมหลุมปลูกขนาด 50×50 เซนติเมตร รองก้นหลุม ด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก แล้ววางต้นพันธุ์ลงกลางหลุมปลูก กลบดินให้พูนช่วงโคนต้นเล็กน้อย
ควรปลูกช่วงต้นฤดูฝน หรือประมาณเดือนพฤษภาคม ถึง กรกฎาคม เพื่อให้มะม่วงตั้งตัวได้เร็วขึ้น
การดูแลมะม่วงปลาตะเพียน
รดน้ำประจำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง และเมื่อมะม่วงตั้งตัวได้ คล่อยห่างลดน้ำ 3 – 4 วัน/ครั้ง
ประโยชน์ของมะม่วงปลาตะเพียน
- มะม่วงปลาตะเพียน เป็นมะม่วงสายพันธุ์โบราณ เป็นมะม่วงท้องถิ่นของภาคกลาง
- ผลดิบ มีรสเปรี้ยว นิยมทานกับน้ำพริกหรือพริกเกลือ และนำมาทำยำ
- ผลสุก มีรสหวานมัน เนื้อแห้ง ไม่ฉ่ำน้ำ
- มะม่วงอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกาย

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : วาโยฟาร์ม
ภาพประกอบ : FB รวมพันธุ์ไม้แปลกทุกสายพันธุ์ , FB ขายพันธุ์มะม่วงทุกสายพันธุ์ มะม่วงเบา มะม่วงไต้หวัน มะม่วงมันขุนศรี, FB หนึ่งฤทัยพันธุ์ไม้ & ขุนแผนพันธุ์ไม้
มะม่วงปลาตะเพียน รสชาติหวาน หอม เนื้อไม่เละ
มะม่วงปลาตะเพียน หรือ มะม่วงปลาตะเพียนทอง ผลมีลักษณะปล่องกลางคล้ายปลาตะเพียน