ข่า หัวข่า เหง้ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ต้นมีกลิ่นคล้ายการบูร

ข่า หัวข่า เหง้ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ต้นมีกลิ่นคล้ายการบูร

ชื่ออื่นๆ : กฎุกกโรหินี (กลาง) ข่าตาแดง ข่าหยวก ข่าหลวง (เหนือ) ข่าใหญ่

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Galanga

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia galanga SW.

ชื่อวงศ์ : Zingiberraceae

ชื่อภาษาอังกฤษ : Galanga

ข่า หัวข่า เหง้ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ต้นมีกลิ่นคล้ายการบูร
ต้นข่า

ลักษณะของข่า

ข่าเป็นไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตรอยู่เหนือพื้นดิน เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน เนื้อในสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอก ช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล เป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลม

การขยายพันธุ์ของข่า

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/

ธาตุอาหารหลักที่ข่าต้องการ

ประโยชน์ของข่า

1 ใช้เหง้าสดเพื่อเป็นเครื่องเทศในการประกอบอาหาร
2 สารสกัดจากข่านำมาประกอบเป็นยารักษาโรคได้หลายชนิด เช่น ยารักษาแผลสด แก้โรคปวดบวมตามข้อ แก้โรคหลอดลมอักเสบ ยาธาตุและยาขับลม
3 ใช้ไล่แมลง โดยนำเหง้ามาทุบหรือตำให้ละเอียดเพื่อให้น้ำมันหอมระเหยออกมา แล้วนำไปวางในบริเวณที่มีแมลง
4 ผลข่ามีสรรพคุณคล้ายกับเหง้า คือ ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องร่วง ฆ่าเชื้อบิด และช่วยย่อยอาหาร ผงจากผลแห้งสามารถรักษาอาการปวดฟันได้ โดยนำไปบดและทาบริเวณที่ปวด ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร เหง้าและลำต้นอ่อน ดอก วิธีใช้ในการประกอบอาหาร ข่าเป็นเครื่องเทศที่ใช้แต่งกลิ่นอาหารและดับกลิ่นคาวพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น ต้มยำปลา ข้าวต้มปลา ต้มข่าไก่ เป็นส่วนผสมในน้ำพริกเครื่องแกงต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนผสมของลูกแป้งที่ใช้ทำข้าวหมากและเหล้า ดอกและลำต้นอ่อนใช้รับประทานเป็นผัก

สรรพคุณทางยาของข่า

ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ เหง้า มีกลิ่นหอม ฉุน รสขม บดเป็นผงละลายน้ำ หรือต้มน้ำดื่ม ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
ตำรายาไทย ใช้ เหง้าแก่ รสเผ็ดร้อน ขม รับประทานเป็นยาขับลม บำรุงธาตุ เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ไอ ช่วยย่อยอาหาร แก้บิด แก้ปวดท้องจุกเสียด กินแก้โรคปวดข้อ และโรคหลอดลมอักเสบ ขับน้ำคาวปลา ขับรก ใช้ภายนอกทารักษากลากเกลื้อน แก้ไฟลวด แก้น้ำร้อนลวก แก้ลมพิษ และโรคลมป่วงแก้สันนิบาตหน้าเพลิง ตำกับน้ำมะขามเปียกและเกลือให้สตรีกินหลังคลอดเพื่อขับน้ำคาวปลา แก้ฟกบวม โดยใช้ข่าแก่ฝานเป็นชิ้นบางๆชุบเหล้าโรงทา เหง้าแก่สดแก้โรคน้ำกัดเท้าโดยใช้ 1-2 หัวแม่มือ ตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงพอท่วม ทิ้งไว้ 2 วัน ใช้สำลีชุบทาวันละ 3-4 ครั้ง หรือทาลมพิษ(ทาบ่อยๆจนกว่าจะดีขึ้น) ใบ รสเผ็ดร้อน ฆ่าพยาธิ กลากเกลื้อน ต้มอาบ แก้ปวดเมื่อยตามข้อ ดอก รสเผ็ดร้อน ทาแก้กลากเกลื้อน ผล รสเผ็ดร้อนฉุน ช่วยย่อยอาหาร แก้ปวดท้อง แก้คลื่นเหียนอาเจียน ท้องอืดเฟ้อ แก้บิดมีตัวและไม่มีตัว หน่อ รสเผ็ดร้อนหวาน แก้ลมแน่นหน้าอก บำรุงไฟธาตุ ต้นแก่ รสเผ็ดร้อนซ่า ตำผสมน้ำมันมะพร้าว ทาแก้ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ตามข้อ แก้ตะคริว ราก รสเผ็ดร้อนปร่า ขับเลือดลม ให้เดินสะดวก แก้เหน็บชา แก้เสมหะ และโลหิต หน่อ มีรสเผ็ดร้อนหวาน แก้ลมแน่นหน้าอก บำรุงไฟธาตุ
ยาพื้นบ้านล้านน ใช้ เหง้า ผสมใบมะกา เถาเชือก เขาหนัง หัวยาข้าวเย็นและเกลือ ต้มน้ำดื่ม เป็นยาถ่าย เหง้าอ่อน ผสมขยันทั้งต้น หัวยาข้าวเย็น ต้มน้ำดื่ม แก้ริดสีดวงลำไส้ ลำต้นใต้ดิน รักษาโรคกลากเกลื้อน เป็นส่วนประกอบในตำรับยาเจ็บเมื่อยเส้นเอ็น ยาเสียบคัด ยามะเร็งครุด ยาไอ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของข่า

  • เหง้าอ่อน 100 กรัม
  • ให้พลังงานต่อร่างกาย 20 กิโลแคลอรี่
  • มีเส้นใย 1.1 กรัม
  • แคลเซียม 5 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม
  • เหล็ก 0.1 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 2 0.15 กรัม
  • วิตามินซี 23 มิลลิกรัม

การแปรรูปของข่า

คนไทยทั่วประเทศ รู้จักข่ากันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเหง้าแก่ เหง้าอ่อน และดอกข่า ถือได้ว่าเป็นผัก เหง้าแก่ใช้เป็นเครื่องปรุงรส แต่งกลิ่น และเป็นเครื่องปรุงสำคัญของต้มยำทุกชนิด และแกงบางชนิด ส่วนเหง้าอ่อน ต้นอ่อน และดอกอ่อน นำมารับประทานสดๆ หรือลวกให้สุก ใช้เป็นเครื่องจิ้มกับน้ำพริก เหง้าอ่อนสด ยังสามารถนำไปปรุงเป็นเมนูอาหารได้อีกด้วย เช่น ต้มข่าไก่ ตำเมี่ยงข่าไก่ หรือตำเมี่ยงข่า เป็นต้น

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับข่า

References : www.bedo.or.th

รูปภาพจาก : c1.staticflickr.com

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

8 Comments

Add a Comment