ชะพลู ใบรูปหัวใจคล้ายกับใบพลู มีกลิ่นฉุน นิยมมาทำห่อหมก

ชะพลู ใบรูปหัวใจคล้ายกับใบพลู มีกลิ่นฉุน นิยมมาทำห่อหมก 

ชื่ออื่นๆ : ผักปูนก (ลำปาง), ช้าพลู (ภาคกลาง) ชะพลูเถา เฌอภลู (สุรินทร์) ผักปูนา ผักปูลิง ผักปูริง ปูลิงนก ผักพลูนก ผักอีไร ผักอีเลิศ (ภาคอีสาน) พลูลิง (ภาคเหนือ) เย่เท้ย (แม่ฮ่องสอน) พลูนก ผักปูนก (พายัพ) พลูลิงนก (เชียงใหม่) นมวา (ใต้)

ต้นกำเนิด : ประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย

ชื่อสามัญ : ชะพลู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper sarmentosum Roxb.

ชื่อวงศ์ : Piperaceae

ชื่อภาษาอังกฤษ :  Wildbetal Leafbush

ชะพลู ใบรูปหัวใจคล้ายกับใบพลู มีกลิ่นฉุน นิยมมาทำห่อหมก
ใบชะพลู

ลักษณะของชะพลู

ชะพลู เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นเถาเลื้อยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ลำต้นแบ่งเป็นข้อโดยตามข้อจะมีรากช่วยในการยึดเกาะ ใบมีสีเขียวสดเป็นมัน ฐานใบกว้าง ใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจรูปทรงคล้ายกับใบพลู เห็นเส้นใบชัดเจน ใบมีกลิ่นฉุน รสเผ็ดเล็กน้อย ดอกสีขาวมีขนาดเล็ก ออกเป็นช่ออัดกันรูปทรงกระบอกยาว

การขยายพันธุ์ของชะพลู

ชะพลูใช้กิ่ง/ลำต้น/ขยายพันธ์โดยปักชำในดินร่วนซุย รดน้ำให้ชุ่มในระยะที่ต้นกล้ายังไม่แข็งแรง ไม่ควรให้โดนแดดมากนัก

ชะพลู ใบรูปหัวใจคล้ายกับใบพลู มีกลิ่นฉุน นิยมมาทำห่อหมก
ดอกชะพลู

ธาตุอาหารหลักที่ชะพลูต้องการ

ประโยชน์ของชะพลู

  • ใบชะพลู: รสเผ็ดร้อน เจริญอาหาร ขับเสมหะ ทำเสมหะให้งวด ทำให้เลือดลมซ่าน
  • ดอกชะพลู (ลูก): รสเผ็ดร้อน แก้ศอเสมหะ ทำให้เสมหะแห้ง ช่วยย่อยอาหาร ขับลมในลำไส้
  • รากชะพลู: รสเผ็ดร้อน แก้คูถเสมหะ ขับเสมหะให้ตกทางทวารหนัก บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง
  • ต้นชะพลู: รสเผ็ดร้อน แก้เสมหะในทรวงอก ขับเสมหะ

สรรพคุณทางยาของชะพลู

ชะพูลมีน้ำมันหอมระเหยที่ทำให้เกิดกลิ่นเผ็ดฉุน และมีคุณค่าทางสารอาหารที่สำคัญ คือ มีแคลเซียมและสารเบต้า-แคโรทีนในปริมาณสูงชะพูลมีน้ำมันหอมระเหยที่ทำให้เกิดกลิ่นเผ็ดฉุนและมีคุณค่าทางสารอาหารที่สำคัญคือมีแคลเซียมและสารเบต้า-แคโรทีนในปริมาณสูงในส่วนของงานวิจัยเป็นการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดลโดยศึกษาฤทธิ์การลดน้ำตาลในเลือดของสารสกัดชะพล (ใช้น้ำสกัดเอาสารสำคัญของชะพลูทั้งต้น) โดยใช้หนูทดลองผู้ทดลองแบ่งหนูออกเป็น 2 กลุ่ม หนูกลุ่มแรกถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานหนูกลุ่มที่สองเป็นหนูปกติ แล้วฉีดสารสกัดของชะพลูเข้าไปในหนูทั้งสองกลุ่ม วัดระดับน้ำตาลในเลือดเมื่อฉีดเข้าไปครั้งแรกพบว่าสารสกัดชะพลูในขนาด 0.125 และ 0.25 กรัมต่อน้ำหนักของหนู 1 กิโลกรัม ไม่ช่วยลดระดับน้ำตาลของหนูกลุ่มที่เป็นเบาหวานแต่เมื่อให้สารสกัดต่อไปอีก 7 วันพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดของหนูกลุ่มที่เป็นเบาหวานลดลงซึ่งผู้ทดลองก็ได้นำยาแผนปัจจุบัน คือ ไกลเบนคลาไมด์ (Glibenclamide) มาทดสอบกับหนูทั้งสองกลุ่มเช่นกันพบว่าได้ผลเช่นเดียวกับสารสกัดชะพลู

ชะพลู ใบรูปหัวใจคล้ายกับใบพลู มีกลิ่นฉุน นิยมมาทำห่อหมก
ใบอ่อนชะพลู

คุณค่าทางโภชนาการของชะพลู

  • ในใบชะพลู 100 กรัม ให้พลังงานกับร่างกาย 101 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย
  • เส้นใย 4.6 กรัม
  • แคลเซียม 601 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม
  • เหล็ก 7.6 มิลลิกรัม
  • วิตามินบีหนึ่ง 0.13 มิลลิกรัม
  • วิตามินบีสอง 0.11 มิลลิกรัม
  • ไนอาซิน 3.4 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 22 มิลลิกรัม
  • โปรตีน 5.4 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 14.2 กรัม
  • เบต้า-แคโรทีนสูงถึง 414.45 ไมโครกรัมเทียบหน่วยเรตินัล

การแปรรูปของชะพลู

ในใบชะพลูมีสารบีตา-แคโรทีนสูงมาก ใบนำมารับประทานกับเมี่ยงคำ นำมาแกงใส่กะทิ ข้าวยำ ห่อหมก หรือเป็นผักจิ้มน้ำพริก ทางภาคใต้ใส่ในแกงกะทิหอยขม แกงคั่วปู ในจังหวัดจันทบุรีใส่ในแกงป่าปลา ในใบมีออกซาเลทสูง จึงไม่ควรรับประทานมากเป็นประจำ

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับชะพลู

References : www.bedo.or.th

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

4 Comments

Add a Comment