เพกา ลิ้นฟ้า ผักพื้นบ้านนิยมกินฝัก เก็บมากินโดยไม่ต้องซื้อ

เพกา ลิ้นฟ้า ผักพื้นบ้านนิยมกินฝัก เก็บมากินโดยไม่ต้องซื้อ

ชื่ออื่นๆ : ดอก๊ะ ด๊อกก๊ะ ดุแก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เบโด (มาเลเซีย-นราธิวาส) มิลิดไม้ มะลิ้นไม้ (เหนือ) ลิ้นฟ้า (เลย)

ต้นกำเนิด : ประเทศอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย

ชื่อสามัญ : เพกา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oroxylum indicum (Linn.) Vent.

ชื่อวงศ์ : Bignoniaceae

ชื่อภาษาอังกฤษ : Broken Bones Tree

เพกา ลิ้นฟ้า ผักพื้นบ้านนิยมกินฝัก เก็บมากินโดยไม่ต้องซื้อหา
ฝักเพกา

ลักษณะของเพกา, ลิ้นฟ้า

เพกา หรือ ลิ้นฟ้า ผักพื้นบ้านที่นิยมกิน ฝักกันถ้วนทั่วทุกภาค โดยเฉพาะคนพื้นบ้านภาคเหนือและภาคอีสาน ในแต่ละท้องถิ่นจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ภาคกลาง ภาคใต้เรียก “ฝักเพกา” ภาคเหนือเรียก “มะลิ้นไม้” “ลิ้นไม้” ภาคอีสานเรียกว่า “หมากลิ้นฟ้า” “ฝักลิ้นฟ้า” “ฝักลิ้นงู” “ลิ้นไม้” “ลิ้นฟ้า” นั่นเป็นเพราะฝักเพกามีลักษณะแบนยาว ห้อยระย้าอยู่เหนือเรือนยอดต้นที่สูงเสียดฟ้า

เพกา เป็นพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติได้ง่าย เมื่อเมล็ดแก่แผ่นเบาบางปลิวตามแรงลมร่วงหล่นตามพื้นดิน ได้น้ำจากสายฝนชุ่มฉ่ำ เจริญเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่อยู่ตามเชิง หุบเขา ริมห้วย ริมลำธาร ตามท้องทุ่งริมทาง ตามป่าละเมาะใกล้หมู่บ้าน ออกดอกออกฝัก ดังนั้นชาวบ้านจึงเก็บมากินโดยไม่ต้องซื้อหาแต่อย่างใด

เป็นไม้ยืนต้นสูงชะลูดขนาดกลาง แตกกิ่งก้านบนยอดสูง ใบออกเป็นช่อใหญ่อยู่ที่ปลายกิ่ง มีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม ดอกออกเป็นช่อใหญ่ตรงยอด มีสีม่วงอมแดง บางทีก็สีน้ำตาลคล้ำ ผลออกเป็นฝักแบนยาวคล้ายดาบ กว้างประมาณ 2.4-9 ซม. ยาว 60-120 ซม. ปลายฝักแหลม ตรงกลางขอบมีรอยโป่งเล็กน้อย เมื่อฝักแก่ รอบข้างของฝักจะปริแตก ข้างในมีเมล็ดมากมาย

การขยายพันธุ์ของเพกา, ลิ้นฟ้า

ใช้เมล็ด/เพาะด้วยเมล็ด

เพกา ลิ้นฟ้า ผักพื้นบ้านนิยมกินฝัก เก็บมากินโดยไม่ต้องซื้อหา
ต้นเพกา

ธาตุอาหารหลักที่เพกา, ลิ้นฟ้าต้องการ

ประโยชน์ของเพกา, ลิ้นฟ้า

เมล็ดมีลักษณะแบน มีเยื่อบางใสหุ้มอยู่โดยรอบเมล็ด เพกา คนจีนเรียกว่า “โซยเตียจั้ว” ใช้เป็นส่วนผสมตัวหนึ่งของน้ำจับเลี้ยง ดื่มแก้กระหายคลายร้อน ดับร้อนในได้เป็นอย่างดี ส่วนเปลือกของต้นเพกา ผู้เฒ่าผู้แก่จะเอามาต้มน้ำให้แม่ลูกอ่อนดื่ม ช่วยขับน้ำคาวปลา ให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ดับพิษโลหิต และบำรุงเลือด นอกจากนี้ชาวบ้านยังเอาเปลือกเพกาไปเผาไฟ จากนั้นก็นำมาแช่น้ำเย็น เอาน้ำนั่นแหละดื่มแก้ร้อนในได้ชะงัดนัก

เพกา กินเป็นผักได้อร่อย ตั้งแต่ยอดอ่อน ดอกอ่อน และฝักอ่อน โดยจะมีให้เก็บกินกันตลอดปี จะมีมากในช่วงปลายฝนต้นหนาว วิธีการเก็บฝักเพกาต้องใช้ไม้สอยเอา เพราะฝักอยู่ยอดต้น เลือกที่มีเปลือกสีเขียว ฝักไม่ใหญ่มาก เมื่อสอยลงมาใช้เล็บจิกได้ แสดงว่าฝักอ่อนกำลังกิน

ยอดกับดอก เวลาจะกินก็เพียงนำไปต้ม หรือลวกเสียก่อน กินเป็นผักจิ้มน้ำพริก ส่วนฝักอ่อนนั้นคนทางเหนือจะเอาไปเผาไฟ ใช้ไฟแรงสักหน่อยจนเปลือกพองไหม้ทั่ว และฝักเพกาอ่อนตัว แล้วแช่น้ำลอกเอาเปลือกที่ไหม้ออก จึงนำไปต้มจนสุกนุ่มอีกครั้ง รสขมในฝักเพกาจะอ่อนลง แต่ทางภาคอีสานนิยมเผาแล้วแช่น้ำลอกเอาเปลือกที่ไหม้ออกเท่านั้น จากนั้นหั่นเป็นชิ้นตามขวาง หนาพอประมาณ นิยมกินเป็นผักจิ้มน้ำพริก และกินแกล้มกับลาบอย่างยิ่ง เพราะมีรสขมนิดๆ อมรสหวาน หน่อยๆ เนื้อนุ่มไปกันได้ดีกับอาหารรสจัด

นอกจากจะเผาต้มจิ้มน้ำพริกแล้ว อาจเคี่ยวหัวกะทิมาราด หรือต้มลงในกะทิจนเข้าเนื้อฝักเพกา เนื้อจะนุ่มมันอร่อย ฝักเพกายังใช้เป็นผักใส่ในแกง คั่ว ยำ ผัด หรือทำแกงอ่อมปลาดุกใส่ฝักเพกาแทนใบยอก็อร่อย จะออกรสขมอ่อนๆ เหมือนใบยอนั่นแหละ ฝักเพกามีสรรพคุณช่วยขับลม ขับเสมหะ ถ้ากินบ่อยนักก็ไม่ดี จะทำให้เป็นต้อเนื้อที่ตาได้

สรรพคุณทางยาของเพกา, ลิ้นฟ้า

ประโยชน์ในด้านสมุนไพรไทย สรรพคุณตามตำรายาไทย พบว่ามีการใช้เพกาตั้งแต่เปลือกต้น ราก ฝัก ใบ และเมล็ด จัดเป็น “เพกาทั้ง 5″ใช้รากเป็นยาบำรุงธาตุ แก้บิด ท้องร่วง เมล็ดเป็นยาระบาย
เปลือกต้น มีรสฝาด เย็น ขมเล็กน้อย มีสรรพคุณเป็นยาฝาดสมาน ขับลมในลำไส้ แก้โรคบิด ท้องร่วง บำรุงโลหิต ขับน้ำเหลืองเสีย บางแห่ง ผู้เฒ่าผู้แก่จะเอาเปลือกต้นมาต้มน้ำให้แม่ลูกอ่อนดื่ม ช่วยขับน้ำคาวปลา ให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ดับพิษโลหิต และบำรุงโลหิต การใช้รักษาฝี – นำเปลือกต้นฝนทารอบๆบริเวณฝี ช่วยลดความปวดฝีได้ การใช้รักษาอาการบวม ฟกช้ำ อักเสบ – นำเปลือกต้นฝนกับน้ำปูนใสทาลดอาการบวม ฟกช้ำ อักเสบ
ราก มีรสฝาดขมเล็กน้อย ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ เรียกน้ำย่อย เจริญอาหาร รักษาโรคท้องร่วง บิด หากนำมาฝนกับน้ำปูนใสทาแผลที่อักเสบ ฟกช้ำ บวม จะช่วยให้หายไปในระยะเวลาอันสั้น
ฝักอ่อน นิยมรับประทานเป็นผัก ช่วยบำรุงธาตุ ขับเสมหะ บรรเทาอาการไอ
ใบ ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดท้อง ขับลม บรรเทาอาการปวดไข้ และยังช่วยให้เจริญอาหาร
เมล็ด สามารถใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ
ยาพอกแก้โรคฝี เอา เปลือกเพกา ฝนกับน้ำสะอาด ผสมกับเมล็ดต้อยติ่ง ทาหรือพอก ดับพิษฝีได้ดีนักแล

ลักษณะเปลือกลำต้น

แก้โรคงูสวัด ใช้รากต้นหมูหมุน ( พืชตระกูลสาวน้อยปะแป้ง) เปลือกคูณ เปลือกต้นเพกา ฝนใส่น้ำทา หายเร็วดีนัก
ยาพอกแก้โรคฝี เอาเมล็ดต้อยติ่ง ผสมกับน้ำเปลือกเพกา ฝนทา หรือพอกดับพิษฝีได้ดีนักแล
ยาแก้พิษหมาบ้ากัด เอาใบกระทุ้งหมาบ้า ลนไฟปิดปากแผล หรือเอาเปลือกเพกา ตำพอกแผลนั้นก็ได้
ยาแก้ลูกอัณฑะลง ( ไส้เลื่อน) ใช้รากเขยตาย เปลือกเพกา หญ้าตีนนก ทั้งหมดตำให้ละเอียด ละลายน้ำข้าวเช็ด ใช้ขนไก่ชุบพาด ทาลูกอัณฑะ ทาขึ้น ( อย่าทาลง)
ยาแก้เบาหวาน ใช้ใบไข่เน่า เปลือกต้นไข่เน่า ใบเลี่ยน รากหญ้าคา บอระเพ็ด แก่นลั่นทม เปลือกเพกา รวม 7 อย่าง หนักอย่างละ 2 บาท มาต้มรับประทานครั้งละ 1 แก้วกาแฟ ก่อนอาหาร เช้า – เย็น
สรรพคุณทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์การแพทย์พบว่า สารสกัดฟลาโวนอยด์ที่ได้จากเปลือกต้นเพกา มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ การแพ้ (anti-inflammatory and anti-allergic) ทั้งมีฤทธิ์ยับยั้งการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบของหนูตะเภาในหลอดทดลอง สารลาพาคอล(lapacol) ที่สกัดได้จากรากเพกา มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์5-ไลพอกซีจีเนส (5-lipoxygenase) ที่ทำให้เกิดการอักเสบ นอกจากนี้การรับประทานฝักเพกาหรือยอดอ่อนยังสามารถช่วยลดคอเรสเตอรอลในกระแสเลือดได้ ในงานสาธารณสุขมูลฐาน เมล็ดเพกาเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่กำหนดเพื่อใช้บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ โดยนำเมล็ดแก่ ประมาณครึ่งกำมือถึงหนึ่งกำมือ (1.5-3.0 กรัม) ใส่ในหม้อ เติมน้ำ 300 มิลลิลิตร ต้มไฟอ่อนๆ พอเดือดประมาณ 1 ชั่วโมง ดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3 ครั้ง จนอาการไอดีขึ้น

คุณค่าทางโภชนาการของเพกา, ลิ้นฟ้า

  • ผลเพกา (ฝักอ่อน) ในส่วนที่กินได้ น้ำหนัก 100 กรัม
  • ไขมัน 0.51 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 14.3 กรัม
  • โปรตีน 0.23 กรัม
  • เส้นใย 4.3 กรัม
  • แคลเซียม 13 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม
  • วิตามินเอ 8,221 หน่วย
  • วิตามินซี 484 มิลลิกรัม

การแปรรูปของเพกา, ลิ้นฟ้า

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับเพกา

References : www.bedo.or.th

รูปภาพจาก : www.terapeak.com

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

3 Comments

Add a Comment