กกขนาก
ชื่ออื่นๆ : หญ้าสลาบ (เชียงใหม่) กกลังกา, กกรังกา, กกต้นกลม, กกขนาก, หญ้าลังดา, กกดอกแดง
ต้นกำเนิด : พบทั่วไปในนาข้าว หรือตามตลิ่ง คูนํ้า
ชื่อสามัญ : Umbella plant, Flatsedge
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyperus difformis L.
ชื่อวงศ์ : CYPERACEAE
ลักษณะของกกขนาก
ต้น เป็นพืชจำพวกไม้ล้มลุก มีอายุไม่เกินหนึ่งปี ขึ้นเป็นกอสูง 10-70 เซนติเมตร ลักษณะลำต้นเป็นเหลี่ยมมีผิวเกลี้ยง มีสันชัดเจน
ใบ ใบเรียงซ้อนกันที่โคนกอ ใบของกกขนากมีรูปขอบขนานแคบ ปลายแหลมยาว 10-20 เซนติเมตร กว้าง 2-6 เซนติเมตร ไม่แยกเป็นก้านใบและแผ่นใบ
ดอก ดอกออกเป็นช่อแน่นกลมคล้ายร่มที่ซ้อนกัน ออกดอกตลอดปี ช่อดอกย่อยจำนวนมากรวมกันเป็นกระจุก ก้านชูดอกสูง 30-40 เซนติเมตร บริเวณปลายก้านกาบช่อย่อยเป็นแผ่นเยื่อบางสีน้ำตาล รูปรี มีเกสรเพศผู้ 3 อัน
ผล ผลของกกขนาดมีสีเหลืองแกมเขียว มีลักษณะเป็นผลแห้ง เมื่อแก่แล้วจะไม่แตก มีขนาดเล็กและเป็นรูปรีหรือรูปไข่กลับ
การขยายพันธุ์ของกกขนาก
ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/แยกเหง้าปลุก
ธาตุอาหารหลักที่กกขนากต้องการ
ประโยชน์ของกกขนาก
ชุมชนนำมาทอเสื่อพับ
สรรพคุณทางยาของกกขนาก
–
คุณค่าทางโภชนาการของกกขนาก
การแปรรูปของกกขนาก
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10563&SystemType=BEDO
www.flickr.com
One Comment