กกอียีปต์ ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตามสวนน้ำ

กกอียีปต์

ชื่ออื่นๆ : พาไพรัส

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Egyptian paper plant, Papyrus, Egyptian paper reed

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyperus papyrus L.

ชื่อวงศ์ : CYPERACEAE

ลักษณะของกกอียีปต์

ต้น  เป็นพืชล้มลุกอายุหลายฤดู มีลำต้นใต้ดิน เจริญเติบโตเป็นกอ ลำต้นเหนือดินมีลักษณะเป็นก้านแข็งกลม สูงประมาณ 1.2-2.4 เมตร

ใบ  ใบมีขนาดสั้นแผ่เป็นกาบหุ้มส่วนโคนของลำต้น

ดอก  ดอกออกเป็นช่อกลมสีน้ำตาลแดงที่ปลายยอด มีใบประดับที่ปลายลำต้นเป็นเส้นกลมเล็กยาว 12-24 ซม. ห้อยโน้มลง 50-100 เส้น

กกอียิปต์
กกอียิปต์ ใบเดี่ยวมีดอกสีน้ำตาลปนแดง

การขยายพันธุ์ของกกอียีปต์

1. การเลือกพื้นที่ กกชอบขึ้นในที่ดินเลน แต่ต้องอยู่ในที่ลุ่มมีน้ำขังอยู่เสมอ
2. การเตรียมพื้นที่ เมื่อเลือกพื้นที่ดินสำหรับการปลูกกกได้แล้ว จัดการไถพรวนให้ดินร่วนซุย และให้หญ้าตายเช่นเดียวกับนาข้าว เพราะหญ้าเป็นศัตรูของกกเหมือนกับข้าวเหมือนกัน ทั้งต้องทำคันนาไว้สำหรับขังน้ำด้วยเหมือนกัน ที่ๆ ปลูกกกนี้เรียก “ นากก ”
3. การปักดำ การดำนากกเหมือนการดำนาข้าว ใช้หัวกกที่ติดอยู่กับลำต้น ตัดปลายทิ้งให้เหลือยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ซึ่งอาจซื้อมาหรือแยกจากนากกของตนเอง มัดเป็นกำ กำละประมาณ 50 ต้น ราคา ซื้อขายหัวกกมาทำพันธุ์นั้น ประมาณ 100 กำต่อ 1,200 บาท นำเอาพันธุ์กกเหล่านั้นแยกออกเป็นหัวๆ ดำลงในนากก ห่างกันประมาณ 20 – 25 เซนติเมตร อัตราการใช้หัวกกในการดำ พื้นที่ 1 ไร่ ประมาณ 500 กำ

ธาตุอาหารหลักที่กกอียีปต์ต้องการ

ประโยชน์ของกกอียีปต์

  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตามสวนน้ำ
  • ปลูกประดับในอ่างเลี้ยงปลา
  • ในสมัยโบราณเคยใช้กกอียีปต์ทำกระดาษ

สรรพคุณทางยาของกกอียีปต์

  • ใบและดอก แก้อาเจียน ถ่ายพิษไข้ ยาระบายอ่อน ๆ
  • ลำต้น นำมาตีด้วยไม้ นำน้ำยางมาสมานแผลโดยใช้ หรือนำลำต้นที่ตีเป็นเส้น มาดามกับโคลนเพื่อเป็นการเข้าเฝือก

คุณค่าทางโภชนาการของกกอียีปต์

การแปรรูปของกกอียีปต์

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10860&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment